ภาพจากศิลปินแสดงการสว่างขึ้นอีกครั้งของ SN 2018ivc เมื่อเศษซากจากการระเบิด ชนเข้ากับเปลือกตัวกลางรอบดาวที่มีความหนาแน่นสูง ซึ่งดาวต้นกำเนิดซุปเปอร์โนวาได้ผลักทิ้งออกมาในวิวัฒนาการช่วงท้ายก่อนระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวา
นักดาราศาสตร์ได้พบซุปเปอร์โนวาเหตุการณ์หนึ่งซึ่งแสดงการสว่างขึ้นในช่วงมิลลิเมตร
กลายเป็นกรณีศึกษาเชื่อมต่อระหว่างซุปเปอร์โนวาสองชนิด จากดาวที่อยู่โดดเดี่ยว
กับที่อยู่ในระบบดาวคู่(binary) ที่ใกล้ชิดกัน
ดาวมวลสูงหลายดวงจบชีวิตของมันในการระเบิดที่รุนแรงซึ่งเรียกว่า
ซุปเปอร์โนวา ซุปเปอร์โนวาจะมีความสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
และจากนั้นก็สลัวลงในเวลาไม่กี่เดือนต่อมา นักดาราศาสตร์ทราบมานานแล้วว่า การมี/ไม่มีของดาวข้างเคียงในระบบคู่ที่อยู่ประชิดกัน
สามารถส่งผลต่อวิวัฒนาการของดวงมวลสูงได้
ในระบบคู่ที่ประชิดกัน
ปฏิสัมพันธ์แรงโน้มถ่วงกับดาวในคู่จะเปลือยดึงวัสดุสารจำนวนมากออกจากดาวต้นกำเนิดซุปเปอร์โนวา
ก่อนที่จะเกิดการระเบิด ในกรณีเหล่านี้ ดาวต้นกำเนิดจะอยู่อย่างเงียบๆ
จนกว่าจะถึงเวลาที่ระเบิดจริง ในททางตรงกันข้าม
ในกรณีดาวต้นกำเนิดที่ไม่มีดาวข้างเคียง หรือมีดาวข้างเคียงแต่อยู่ห่างไกล
จะนำไปสู่การระเบิดซุปเปอร์โนวาที่จะรักษามวลดั้งเดิมเกือบทั้งหมดของมันไว้ได้
นักดาราศาสตร์ต้องการจะทราบว่าเกิดอะไรขึ้นถ้าระบบคู่ไม่ได้อยู่ใกล้เกินไปและไม่ไกลเกินไป
เมื่อทีมวิจัยนานาชาติที่นำโดย Keichi Maeda ศาสตราจารย์ที่วิทยาลัยบัณฑิตวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกียวโต และ Tomonari Michiyama นักวิจัยหลังปริญญาเอก ALMA ที่มหาวิทยาลัยโอซากา
ใช้ ALMA เพื่อจับตาดูซุปเปอร์โนวาเหตุการณ์หนึ่งที่เรียกกันว่า
SN 2018ivc ในกาแลคซีกังหัน
M77 เมื่อมันมืดลงราว
200 วันหลังจากการระเบิดเริ่มขึ้น
ผลที่ได้แสดงว่า SN 2018ivc เป็นวัตถุที่ไม่ปกติ
ดังนั้นทีมจึงตัดสินใจตรวจสอบมันอีกครั้ง ในอีกราว 1000 วันหลังการระเบิด พวกเขาพบว่าจริงๆ แล้ววัตถุนี้สว่างขึ้นอีกครั้ง
ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สำรวจพบปรากฏการณ์ประหลาดนี้ในการเปล่งรังสีช่วงมิลลิเมตร(คลื่นวิทยุ)
เมื่อเปรียบเทียบกับแบบจำลองมากมาย
ได้บอกถึงปฏิสัมพันธ์กับดาวข้างเคียงในระบบคู่ที่อยู่ไกลปานกลาง เมื่อราว 1500
ปีก่อนระเบิด
ซึ่งได้สร้างเปลือกตัวกลางที่ล้อมรอบดาวขนาดใหญ่มากในอวกาศที่ระยะทางราว 0.1
ปีแสง
ที่ราว 200 วันหลังการระเบิด วัสดุสารที่ระเบิดออกมา(ejecta)
ก็ยังไปไม่ถึงเปลือกก๊าซนี้
จากนั้นราว 200 ถึง 1000
วัน
วัสดุสารก็ชนเข้ากับเปลือกตัวกลางนี้สร้างการเปล่งคลื่นวิทยุซิงโครตรอนออกมา
ด้วยการศึกษาคุณสมบัติของการเปลี่ยนคลื่นซิงโครตรอน
รวมถึงความเข้มและวิวัฒนาการตามเวลา ก็สามารถตรวจสอบการกระจายตัวของเปลือกก๊าซนี้ได้
ช่วยให้ทราบว่าดาวต้นกำเนิดก่อนจะระเบิดได้ทิ้งมวลออกมามากแค่ไหน
ผลสรุปเหล่านี้เผยแพร่เป็น Resurrection
of Type IIL Supernova 2018ivc: Implications for a Binary Evolution Sequence
Connecting Hydrogen-rich and Hydrogen-poor Progenitors ใน Astrophysical Journal Letters วันที่ 1 มีนาคม
2023
แหล่งข่าว phys.org
: resurrected supernova provides missing link between two types
alma-telescope.jp :
resurrected supernova provides missing-link in stellar evolution
No comments:
Post a Comment