ภาพจากศิลปินแสดงช่วงมวลคร่าวๆ ของดาวเคราะห์, ดาวแคระน้ำตาล และดาวฤกษ์ เทียบเป็นมวลดาวพฤหัสฯ
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้พบดาวเคราะห์นอกระบบใหม่ดวงหนึ่งซึ่งเป็นดวงแรกที่ถ่ายภาพได้โดยตรง
ต้องขอบคุณปฏิบัติการไกอาของยุโรป
และก็ดูเหมือนมันจะมีปฏิกิริยานิวเคลียร์เกิดขึ้นในแกนกลาง
ทีมซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ Sasha
Hinkley จากมหาวิทยาลัยเอกซ์เตอร์
ในอังกฤษ ได้พบดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้โคจรห่างออกมาจากดาวฤกษ์ HD 206893 ที่ 483 ล้านกิโลเมตร
โดยระบบแห่งนี้อยู่ห่างจากโลกออกไป 130 ปีแสง
มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเราราว 30% ดาวฤกษ์นี้มีดิสก์เศษซากรอบๆ
มัน และจึงคิดว่าน่าจะมีโอกาสได้พบดาวเคราะห์นอกระบบใหม่ๆ
จากนั้น
ปฏิบัติการไกอาได้ทำการตรวจสอบตำแหน่งของดาวฤกษ์นี้เมื่อมันเคลื่อนที่ข้ามท้องฟ้าอย่างแม่นยำสูงมาก
และข้อมูลการตรวจสอบตำแหน่งดาว(astrometry) ก็บอกถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์นอกระบบซึ่งบอกผ่านได้จากการส่ายของดาวฤกษ์
การสำรวจติดตามผลจากไกอา โดยใช้เครื่องมือ GRAVITY บน VLT ในทะเลทรายอะตาคามา
ได้ยืนยันการมีอยู่ของดาวเคราะห์นอกระบบดวงใหม่ HD 206893c ได้โดยตรง
ยิ่งกว่านั้น
การสำรวจยังช่วยให้นักวิจัยได้วิเคราะห์สเปคตรัมแสงจากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงนี้
วัตถุมีความสว่างเพิ่มขึ้น ได้บอกว่าแกนกลางของดาวเคราะห์ยักษ์ดวงนี้
กำลังมีการหลอมนิวเคลียส(nuclear fusion) โดยใช้ดิวทีเรียม(deuterium)
ซึ่งเป็นไฮโดรเจนไอโซโทปหนักรูปแบบที่มี
1 นิวตรอน
ก่อนหน้านั้นในปี 2017 นักวิทยาศาสตร์ได้พบดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่ง HD
206893B โคจรรอบดาวฤกษ์หลัก
อย่างไรก็ตาม การจับตาดูระบบแห่งนี้ในระยะยาวโดยเครื่องมือ HARPS เช่นเดียวกับการตรวจสอบการเคลื่อนที่เฉพาะ(proper
motion) จากไกอา
ก็บอกใบ้ถึงการมีอยู่ของวัตถุมวลต่ำกว่า, ที่อยู่ใกล้กว่า
จึงได้พบดาวเคราะห์ดวงใหม่ซึ่งโคจรที่ราวครึ่งทางระหว่างวงโคจรดาวอังคารกับดาวพฤหัสฯ
ในระบบของเรา
ดาวเคราะห์ที่เพิ่งค้นพบใหม่มีมวลที่ราว 13
เท่ามวลดาวพฤหัสฯ
ขนาดที่ใหญ่โตและหลักฐานการหลอมนิวเคลียสบอกว่า
มันอยู่ที่รอยต่อระหว่างการเป็นดาวเคราะห์ กับดาวแคระน้ำตาล(brown dwarfs) ซึ่งเป็นวัตถุปริศนาที่ก่อตัวขึ้นในแบบเดียวกับดาวฤกษ์แท้
แต่ไม่ได้มีมวลสูงมากพอที่จะทำให้เกิดการหลอมนิวเคลียส
การค้นพบนี้จึงให้แง่มุมใหม่ๆ
แก่นักวิทยาศาสตร์สู่การแยกแยะระหว่างดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ กับดาวแคระน้ำตาล
การค้นพบ HD 206893c เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบ
เมื่อดาวเคราะห์ของเราอาจจะเป็นครั้งแรกที่ไกอาได้พบดาวเคราะห์นอกระบบ โดยตรง Hinkley
กล่าว
การค้นพบได้แสดงว่าไกอายังอาจบอกถึงว่าที่ดาวเคราะห์นอกระบบ
ซึ่งจากนั้นก็ตรวจจับโดยตรงโดยการสำรวจติดตามผล ทั้งจากภาคพื้นดิน
หรือโดยหอสังเกตการณ์ในอวกาศ อย่างกล้องเวบบ์
การศึกษาใหม่ที่มีชื่อเรื่อง ”Direct
Discovery of the Inner Exoplanet in the HD 206893 System” เผยแพร่ในวารสาร Astronomy &
Astrophysics และเผยแพร่ออนไลน์บน
arXiv นอกจากนี้ Hinkley
ยังนำเสนอการค้นพบในการประชุมสมาคมดาราศาสตร์อเมริกัน
ในซีแอตเติล ด้วย
แหล่งข่าว space.com
: newfound alien planet has nuclear fusion going in its core
phys.org : Gaia helps
discover directly imaged planet undergoing nuclear fusion
No comments:
Post a Comment