ภาพจากศิลปินแสดงซุปเปอร์โนวาจากดาวฤกษ์ที่มีมวลตั้งแต่ 8 เท่าดวงอาทิตย์ขึ้นไป
เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์ได้จับภาพการจบชีวิตอย่างรุนแรงของดาวซุปเปอร์ยักษ์แดง(red
supergiant) ดวงหนึ่งไว้ได้ในเวลาจริง
โดยเฝ้าดูการทำลายตัวเองอย่างรวดเร็ว
และลมหายใจเฮือกสุดท้ายก่อนที่ดาวมวลสูงนี้จะยุบและระเบิดกลายเป็นซุปเปอร์โนวาชนิดสอง
(Type II supernova) ซุปเปอร์โนวาชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อดาวมวลสูงตายลงโดยหมดเชื้อเพลิงในแกนกลางและยุบตัวลง
เมื่อไม่สามารถรักษาสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงกับแรงดันจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้อีกต่อไป
จะเกิดการระเบิดที่รุนแรงสว่างเจิดจ้าตามหลังการยุบตัว
ส่งคลื่นกระแทกออกไปทั่วอวกาศ
และมักจะเหลือแกนกลางที่หนาแน่นสูงที่ล้อมรอบด้วยกลุ่มเมฆก๊าซที่เรียกว่า เนบิวลา(nebula)
เอาไว้
ทีมวิจัยที่นำโดยมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น
และมหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย(UC) เบิร์กลีย์
ได้สำรวจดาวซุปเปอร์ยักษ์แดงดวงนี้ในช่วง 130 วันสุดท้ายของมัน
ซึ่งนำไปสู่การระเบิดทำลายล้างตัวเอง
การค้นพบขัดแย้งกับแนวคิดก่อนหน้านี้ว่าซุปเปอร์ยักษ์แดงจะพัฒนาไปอย่างไรก่อนที่จะระเบิด
การสำรวจก่อนหน้านี้ได้แสดงว่าซุปเปอร์ยักษ์แดงนั้นค่อนข้างเงียบกริบก่อนตาย
โดยไม่พบหลักฐานการปะทุที่รุนแรงหรือการเปล่งกำลังสว่างจ้า แต่อย่างไรก็ตาม
การสำรวจใหม่ได้พบการเปล่งรังสีที่สว่างจากซุปเปอร์ยักษ์แดงในช่วงปีสุดท้ายก่อนระเบิด
นี่บอกว่าอย่างน้อยซุปเปอร์ยักษ์แดงบางส่วนก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในไปพอสมควร
ซึ่งเป็นผลให้เกิดการผลักก๊าซที่รุนแรงจนสว่างขึ้นก่อนที่จะยุบตัว
นี่เป็นการแผ้วถางความเข้าใจของเราว่าดาวมวลสูงทำอะไรก่อนที่มันจะตาย
Wynn Jacobson-Galan ผู้เขียนนำการศึกษานี้
ไม่เคยมีการสำรวจพบกิจกรรมก่อนการระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวาจากซุปเปอร์ยักษ์แดงดวงหนึ่ง
ได้โดยตรง ก่อนที่จะเกิดซุปเปอร์โนวาชนิดสอง นี่เป็นครั้งแรกที่เราดูซุปเปอร์ยักษ์แดงดวงหนึ่งระเบิด
การค้นพบนี้เผยแพร่ใน Astrophysical Journal วันที่ 6 มกราคม
2022
แม้ว่างานวิจัยนี้จะทำที่นอร์ธเวสเทิร์นเมื่อ Jacobson-Galan
ยังเป็นนักวิจัยทุนของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
แต่เราก็ได้ย้ายไปยูซีเบิร์กลีย์แล้ว ผู้เขียนร่วมที่นอร์ธเวสเทิร์น ได้แก่ Deanne
Coppejans, Charlie Kilpatrick, Giacomo Terreran, Peter Blanchard และ Linsay DeMarchi ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกของศูนย์เพื่อการวิจัยศึกษาและสหวิทยาการในดาราศาสตร์ฟิสิกส์(CIERA)
โครงการ Pan-STARRS ของสถาบันเพื่อดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาวาย
ในฮาลีคาลา ฮาวาย ได้พบดาวมวลสูงดวงนี้เป็นครั้งแรกในฤดูร้อนปี 2020 จากแสงจำนวนมากที่ซุปเปอร์ยักษ์แดงดวงนี้เปล่งออกมา
ในอีกไม่กี่เดือนต่อมาในฤดูใบไม้ร่วงปี 2020 ก็เกิดซุปเปอร์โนวาขึ้น
ทีมได้จับแสงนี้อย่างรวดเร็วและเก็บสเปคตรัมในช่วงแรกๆ
สุดของการระเบิดได้ซึ่งเรียกว่า ซุปเปอร์โนวา 2020tlf โดยใช้สเปคโตรมิเตอร์ถ่ายภาพความละเอียดต่ำ
บนกล้องเคกในฮาวาย
ข้อมูลได้แสดงหลักฐานของวัสดุสารหนาทึบที่ล้อมรอบดาวในช่วงเวลาที่เกิดระเบิด
ซึ่งน่าจะเป็นมวลก๊าซเดียวกับที่ Pan-STARRS ได้ถ่ายภาพซุปเปอร์ยักษ์แดงเมื่อเกิดการปะทุอย่างรุนแรงในฤดูร้อนก่อนหน้านั้น
Raffaella Margutti รองศาสตราจารย์วุฒิคุณที่ CIERA และผู้เขียนอาวุโสรายงานนี้ กล่าวว่า
มันก็เหมือนกับการเฝ้าดูระเบิดเวลานับถอยหลัง จนถึงบัดนี้
เราไม่เคยได้ยืนยันกิจกรรมที่รุนแรงในดาวซุปเปอร์ยักษ์แดงที่กำลังจะตายซึ่งเราได้เห็นมันเปล่งแสงที่สว่างมาก
จากนั้นก็ยุบตัวและตูม
ทีมยังคงจับตาดู SN2020tlf หลังจากการระเบิด จากข้อมูลที่รวบรวมได้ Deep Imaging and Multi-object Spectrograph และNear Infrared Echelle Spectrograph ของเคก เช่นเดียวกับหอสังเกตการณ์สวิฟท์ในวงโคจร
นักวิจัยได้ตรวจสอบดาวซุปเปอร์ยักษ์แดงต้นกำเนิดซุปเปอร์โนวา 2020tlf ซึ่งอยู่ในกาแลคซี NGC 5731 ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 120 ล้านปีแสง พบว่ามันมีมวล 10 เท่ามวลดวงอาทิตย์
Margutti และ Jacobson-Galan ได้ทำการศึกษาเกือบทั้งหมดในช่วงที่อยู่ที่นอร์ธเวสเทิร์น
โดย Margutti ทำหน้าที่เป็นรองศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์
และสมาชิก CIERA และ Jacobson-Galan
เป็นนักศึกษาในทีมวิจัย Margutti
ในขณะที่ปัจจุบัน Margutti เป็นรองศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์และดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่ยูซีเบิร์กลีย์
งานวิจัยนี้ใช้การเข้าถึงกล้องที่หอเคกจากทางไกลที่นอร์ธเวสเทิร์น
จากวิทยาเขตเอฟวานสตัน นักดาราศาสตร์สื่อสารกับผู้ดำเนินงานกล้องที่ฮาวาย
และเลือกตำแหน่งที่หันกล้องไป เมื่อไม่ต้องเดินทางไกลไปถึงฮาวาย
นักดาราศาสตร์ก็สงวนเวลาการสำรวจอันมีค่า
ได้พบเหตุการณ์ชั่วคราวอย่างเช่นซุปเปอร์โนวา
ซึ่งปะทุขึ้นอย่างรวดเร็วและหายไปในเวลาอันสั้น
นักดาราศาสตร์หวังว่าจะได้พบซุปเปอร์ยักษ์แดงก่อนระเบิดซุปเปอร์โนวาเพิ่มเติมอีก
เพื่อให้เข้าใจช่วงวันท้ายๆ ที่นำไปสู่การระเบิดซุปเปอร์โนวาได้ดีขึ้น
ผมตื่นเต้นมากๆ กับสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนนี้ซึ่งเปิดเผยออกมากับการค้นพบนี้ Jaconson-Galan
กล่าว การตรวจจับเหตุการณ์อย่าง SN2020tlf
ให้มากขึ้นจะส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อความรู้ของเราในช่วงเดือนท้ายๆ
ของวิวัฒนาการดาวฤกษ์
ประสานความร่วมมือของนักสังเกตการณ์กับนักทฤษฎีในความพยายามเพื่อไขปริศนาว่าดาวมวลสูงใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายของพวกมันอย่างไร
แหล่งข่าว scitechdaily.com
: astronomers capture red supergiant star exploding in massive supernova – for
the very first time
space.com : Death star-
in cosmic first, scientists observe red supergiant just before it explode
sciencealert.com : for
the first time, we’ve seen a red giant star transition into a supernova
No comments:
Post a Comment