Friday 16 October 2020

Theta (θ) Serpentis : Alya




ตอนนี้เกิดลาณีญ่ากำลังแรง ทำให้มีพายุเข้ามาติดกันหลายลูกทั้งที่เข้ากลางเดือนตุลาคมแล้ว แอดมินยังไม่ได้เริ่มต้นสำรวจท้องฟ้าเลย

หากฟ้าเปิดฟ้าใต้ตอนหัวค่ำจะเห็นดาวอัลแตร์สว่างสูงเกือบกลางศรีษะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอัลแตร์คือกลุ่มดาวขนาดใหญ่ที่ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม “งู - เซอร์เพนส์” และ “คนแบกงู - ออฟอียูคัส”

ปลายหางของงูเป็นดาวจางดวงหนึ่งเรียกตามระบบเบเยอร์ว่า “เธต้า (θ) เซอเพนติส” หรือ “อัลย่า” ดาวดวงนี้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหากฟ้ามืดพอ สามารถใช้กล้องสองตาช่วยได้หากมองไม่เห็น

หาไม่ยาก อัลย่าจะเป็นมุมหนึ่งของรูปสามเหลี่ยม ที่มีดาว “เดลต้า (δ ) อัคควีอี” กับ“แลมด้า (λ) อัคควีอี” ในกลุ่มดาวนกอินทรีย์หรืออัคควีล่าเป็นอีกสองมุม 

ด้วยกล้องกล้องสองตา 8x40 จะพบว่าอัลย่ามองเห็นเป็น ”ขีดสั้น” ของแสงสว่าง คล้ายดวงตาเรากำลังล้าหรือปรับความชัดไม่ได้ ขีดแสงสว่างเด่นชัดมาก และถึงปรับโฟกัสอย่างไรก็เป็นขีดอยู่แบบนั้น

แต่หากดูด้วยกล้องดูดาวที่กำลังขยายต่ำ จะพบว่า ”ขีดสว่าง” นั้นแท้จริงเป็นดาวสองดวงอยู่คู่กัน ทั้งคู่สว่างเด่นชัด สีขาวใส มีประกายอมเหลืองนิดหน่อย ความงามของดาวแฝดคู่นี้หมดจด เปล่งประกายกลบดาวดวงอื่นอีกหลายสิบดวงที่รอบข้างเสียสนิท

ความสว่างของทั้งคู่ใกล้เคียงกันมาก ดวงทางทิศตะวันตกจะสว่างมากกว่านิดเดียว เป็นคู่แฝดที่งามและสมบูรณ์แบบที่สุดคู่หนึ่งบนฟ้า เชื่อว่าราวกลางอาทิตย์หน้าฟ้าน่าจะเปิด ลองออกไปดูกันครับ


คลิกภาพเพื่อขยาย

ข้อมูลทั่วไป 

Name: Alya
Catalog number: Theta Serpentis
Type: Double Star
Constellation: Serpens
Visual Magnitude: +4.61,  +4.92
Seperation: 22.5” at 104°
Distance: 155 ly 

Coordinates
R.A. 18h 57m 14.05s
Dec. +04° 13’ 51.7”

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...