ถ้าคุณสามารถออกไปนอกระบบสุริยะและเฝ้าดูจากที่ห่างไกล
คุณจะได้เห็นสิ่งหนึ่งก็คือ
ดาวเคราะทั้งหลายในระบบสุริยะเรียงตัวอยู่ในระนาบแบนระนาบหนึ่ง
ที่ล้อมรอบศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ไว้
ซึ่งเรียกว่า สุริยวิถี(ecliptic) และคิดกันว่าเป็นสิ่งที่เหลือจากการก่อตัวของระบบสุริยะ
ซึ่งเป็นดิสก์ฝุ่นแบนที่หมุนวนไปรอบๆ ดวงอาทิตย์ที่ยังอายุน้อย ซึ่งค่อยๆ
เกาะกุมตัวเข้าด้วยกันจนกลายเป็นดาวเคราะห์, ดาวเคราะห์น้อย และก้อนหินอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ยังมีวัตถุอีกจำนวนหนึ่งที่เคลื่อนที่อยู่นอกแนวระนาบนี้
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดาวหางคาบยาว(long-period comets) ซึ่งใช้เวลาหลายร้อยจนถึงหลายหมื่นปีโคจรรอบดวงอาทิตย์
จากที่ชายขอบที่ไกลที่สุดของระบบสุริยะในเขตที่เรียกว่า เมฆออร์ต(Oort
Cloud)
ขณะนี้ เราอาจจะเข้าใจวงโคจรที่แปลกของพวกมัน
จากงานวิจัยงานใหม่
ดาวหางคาบยาวเหล่านี้บางส่วนก็ดูเหมือนจะเรียงตัวตามระนาบการโคจรที่แตกต่างออกไปแห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ค้นพบเรียกว่า สุริยวิถีว่างเปล่า(empty ecliptic) ซึ่งอยู่ที่ 180 องศาเมื่อเทียบกับขั้วกาแลคซี(galactic
pole) การค้นพบนี้จึงดูเหมือนจะเปิดช่องทางใหม่ว่าดาวหางก่อตัวขึ้นในระบบสุริยะได้อย่างไร
จริงๆ
แล้วเราไม่สามารถสำรวจวงโคจรทั้งหมดของดาวหางคาบยาวได้ พวกมันมีขนาดเล็กและมืด
และเราก็แค่ไม่มีเทคโนโลจีที่จะเห็นพวกมันผ่านในจุดที่จำเพาะจุดหนึ่งได้
ไม่ต้องเอ่ยถึงวงโคจรของพวกมันที่ยาวนานกว่าช่วงชีวิตมนุษย์ อย่างไรก็ตาม
เมื่อพวกมันเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์มากพอให้เราได้ตรวจจับ
เราก็สามารถใช้เส้นทางและความเร็วของพวกมันเพื่อระบุวงโคจรทั้งหมดได้
Arika Higuchi นักดาราศาสตร์จากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น
และเพื่อนร่วมงานของเธอกำลังทำงานเพื่อคำนวณวงโคจรของดาวหางคาบยาวอยู่
และเมื่อทำเช่นนี้
พวกเขาก็สังเกตเห็นบางสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับจุดในวงโคจรที่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด(aphelion)
และมันก็ควรจะอยู่ค่อนข้างใกล้กับสุริยวิถีสำหรับวัตถุที่มีวงโคจรกำเนิดจากระนาบสุริยวิถี
แต่สำหรับดาวหางคาบยาว ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
แบบจำลองการก่อตัวระบบสุริยะบอกว่าแม้แต่ดาวหางคาบยาวซึ่งเดิมมีกำเนิดใกล้สุริยวิถี
และต่อมาก็กระจายออกสู่วงโคจรที่สำรวจพบในปัจจุบันผ่านปฏิสัมพันธ์แรงโน้มถ่วง
ซึ่งเกือบทั้งหมดมาจากดาวเคราะห์ยักษ์ แต่แม้ว่าจะถูกกระจายโดยดาวเคราะห์ แต่ aphelion
ของดาวหางก็น่าจะยังอยู่ใกล้ๆ
สุริยวิถี จึงน่าจะมีแรงภายนอกอื่นๆ ที่อธิบายการกระจายที่สำรวจพบ
มีดาวหางคาบยาวกลุ่มที่สองที่เส้นทางไม่ได้บอกว่าจุดที่ไกลที่สุดในวงโคจรสอดคล้องกับสุริยวิถี
แต่จุดที่ไกลที่สุดก็ไม่ได้กระจายอย่างสุ่ม ตรงกันข้าม
ดูเหมือนพวกมันจะเรียงตัวตามระนาบการโคจรที่สองที่ว่างเปล่า สุริยวิถีซึ่งเอียง 60
องศาเมื่อเทียบกับระนาบของทางช้างเผือก
สุริยวิถีว่างเปล่าอันใหม่ก็เช่นกันที่เอียง 60 องศาจากระนาบทางช้างเผือกด้วย แต่อยู่คนละด้าน
และนี่ก็อาจเป็นเงื่อนงำว่าสุริยวิถีว่างเปล่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
นักวิจัยบอกว่ามันอาจจะถูกสร้างโดยแรงโน้มถ่วงของกาแลคซี
เป็นสนามแรงโน้มถ่วงในกาแลคซีเอง เมื่อเวลาผ่านไป
ก็อาจจะดึงดาวหางคาบยาวบางส่วนให้เป๋ออก
จึงเป็นเหตุผลที่ทีมเรียกสุริยวิถีที่สองว่า “ว่างเปล่า” เมื่อมันโผล่ขึ้นมาแล้วโดยไม่มีวัตถุใดอยู่เลย
เมื่อเวลาผ่านไปหลายพันล้านปี แรงโน้มถ่วงของกาแลคซีก็เติมดาวหางเข้ามาเรื่อยๆ
นี่ไม่ใช่แนวคิดใหม่เอี่ยม
นักดาราศาสตร์เคยได้ทำนายผลที่มีต่อดาวหางในเมฆออร์ต
จากแรงโน้มถ่วงของกาแลคซีมานานหลายทศวรรษแล้ว แต่กระนั้น ก็ยังคงเป็นแค่แนวคิดที่ต้องการหลักฐานมาสนับสนุนเพิ่มเติม
ดังนั้น Higuchi และทีมจึงได้ทำการคำนวณวิเคราะห์เพื่อสร้างแบบจำลองว่าแรงโน้มถ่วงของกาแลคซีน่าจะส่งผลต่อดาวหางคาบยาวอย่างไร
และก็ตามที่เธอได้ทำนายไว้ การกระจายของจุดที่ไกลที่สุดในวงโคจรมีช่วงพีค 2
แห่ง คือ ใกล้สุริยวิถี และสุริยวิถีว่างเปล่า
นี่จึงเป็นหลักฐานที่หนักแน่นมากๆ แต่ก็ยังต้องทำงานอีกมากเพื่อยืนยันการค้นพบนี้
จุดที่ไปกองกันอยู่ไม่ได้เป็นระนาบสุริยวิถีหรือสุริยวิถีว่างเปล่า พอดี
แต่ใกล้ๆ พวกมัน Higuchi กล่าว
การสำรวจการกระจายตัวของวัตถุขนาดเล็กยังต้องรวมปัจจัยอีกหลายประการ
การตรวจสอบการกระจายของดาวหางคาบยาวในรายละเอียดจะเป็นงานในอนาคตของเรา
โครงการสำรวจทั่วท้องฟ้าที่เรียกว่า Legacy Survey of Space and Time(LSST)
จะให้ข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับการศึกษานี้
งานวิจัยเผยแพร่ใน Astronomical Journal
แหล่งข่าว sciencealert.com
: radical discovery suggests the Solar System has two planes of orbital
alignment
phys.org : second
alignment plane of solar system discovered
No comments:
Post a Comment