Thursday 30 April 2020

Iota Cancri




จากกระจุกดาวรวงผึ้งแต่เป็นในทิศทางตรงกันข้ามกับเอ็ม 67 ดาวที่เป็นก้ามปูทางทิศเหนือ “อิโอต้า แคนครี่” ถึงแม้ว่า ι เป็นตัวอักษรลำดับที่ 23 ของกรีก แต่อิโอต้ากลับสว่างเป็นลำดับที่สองในกลุ่มดาวปู


ในกลุ่มดาวแคนเซอร์เรียง 4 ลำดับแรกของความสว่างดาวแบบเบเยอร์ดังนี้ เบต้า อิโอต้า เดลต้า อัลฟ่า... จะเห็นว่าชื่อดาวไม่ได้เรียงตามลำดับความสว่างอย่างปกติ ทำให้ชวนสงสัยว่าเบเยอร์อาจมีวิธีการไล่เรียงชื่อดาวแบบอื่นที่เราไม่ทราบก็ได้

อิโอต้าแคนครี่เป็นดาวสว่าง 4 มัคนิจูดที่ไม่มีชื่อสามัญคล้ายว่าไม่ได้รับความสำคัญในยุคเก่า แต่ดาวดวงนี้เป็นดาวคู่ที่มีสีตัดกันสดใส ดูง่ายที่สุดคู่หนึ่งบนท้องฟ้า

ดาวหลัก อิโอต้าแคนครี่ เอ มีสีเหลืองทอง (G7.5) สว่าง 4 มัคนิจูด ส่วนดวงรอง อิโอต้าแคนครี่ บี สีฟ้าสดใส (A3) สว่าง 7 มัคนิจูด คู่นี้มีระยะแยกที่ 30.6 อาร์คเซั่นหรือ 30 ฟิลิบดา ห่างกันมากทีเดียวทำให้ดูได้ง่าย แต่ด้วยกล้องสองตาขนาด 8x40 ของผมก็ยังแยกไม่ได้ มองเห็นเป็นดาวเดี่ยวสีเหลืองใสกระจ่าง

ภาพสเก็ทช์เป็นภาพที่มองเห็นจากกล้องดูดาวหักเหแสง 5 นิ้วที่กำลังขยาย 100 เท่า แต่กล้องหักเหแสง 4 นิ้วที่กำลังขยายต่ำแค่ 20 เท่าก็แยกได้แล้วสีชัดเจนและสดสวยเช่นกัน


คลิกภาพเพื่อขยาย
Cartes du Ceil map


ข้อมูลทั่วไป
Catalog number: Iota Cancri
Type: Double Star
Constellation: Cancer
Visual Magnitude: +4.01, 6.58
Seperation: 31.3” at 308.0°
Distance: 330 ly


Coordinates
R.A. 8h 47m 54.2s
Dec. +28° 41’ 9.01”


อ้างอิง
Robert Burnham, Burnham’s Celestial Handbook
SkySafari
http://stars.astro.illinois.edu/sow/nairalsaif.html

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...