อาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายนใกล้เข้ามา หกเหลี่ยมฤดูหนาวที่เคยมองเห็นได้เต็มวงมาตอนนี้ลับขอบฟ้าไปบางส่วนแล้ว กลุ่มดาวนายพรานแตะแคงข้างใกล้ลับฟ้าทางตะวันตก ดาวพอลลักซ์และคาสเตอร์ยังค่อนข้างสูงบนฟ้า
กลางศรีษะมีดาวสว่างเด่นชื่อเรกูลัสดาวดวงนี้อยู่ในตำแหน่งหัวใจของสิงห์ในกลุ่มดาวสิงโตพอดี พื้นที่ว่างระหว่างเรกูลัสและคู่แฝดพอลลักซ์กับคาสเตอร์มีกลุ่มดาวจางกลุ่มหนึ่ง กลุ่มดาวแคนเซอร์หรือปูกลุ่มดาวประจำเดือนกรกฏาคม ที่แม้จะมองไม่เห็นแต่ก็หาตำแหน่งได้ง่าย
กลุ่มดาวแคนเซอร์หรือกรกฎหรือปู กระจุกดาวจะเกาะกับเส้นสมมติระหว่างดาวสองดวงด้านบน ทำให้ดูเหมือนรวงผึ้งเกาะกับกิ่งไม้ |
กลุ่มดาวกลุ่มแคนเซอร์เป็นกลุ่มที่ท้าทายสำหรับมือใหม่ ดาวในกลุ่มเรียงเป็นตัวอักษร “Y” จางทีเดียวมองได้ยากแม้จะอยู่ชานเมืองเล็กๆ ใจกลางกลุ่มดาวปูมีกระจุกดาวเปิดขนาดใหญ่ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในที่มืดสนิท กระจุกดาวเปิด Preasepe (พรี-ซี-พี) หรือกระจุกดาวรวงผึ้ง ดูผ่านกล้องสองตาจะสวยที่สุดและทำให้ทราบที่มาของชื่อ “รวงผึ้ง” ได้
เพื่อนสมาชิกน่าจะเคยดูกระจุกดาวรวงผึ้งมาก่อน แต่คราวนี้หากฟ้าเปิดลองหยิบเกล้องดูดาวมาเจาะให้ลึกกว่าเดิม พรีซีพีหรือเอ็ม 44 มีดาวสว่างเรียงเป็นรูปตัวอักษร “V” และดาวเกาะกลุ่มเป็นรูปสามเหลี่ยมหลายจุด บางจุดเป็นดาวคู่และดาวพหุ(ระบบดาวหลายดวง) มีที่น่าสนใจหลายตัว
ดาวคู่และพหุในกระจุกดาวรวงผึ้งเกือบทั้งหมดดูได้จากกล้องสองตา ตัวเลขทางขวามือ สองชุดแรกเป็นค่าความสว่างหน่วยเป็น มัคนิจูด ชุดที่ความคือระยะห่าง (Seperation) หน่วยเป็นอาร์คเซคั่น |
เริ่มจากรูปสามเหลี่ยมขนาดจิ๋วใกล้ใจกลางก่อน STF1254 เป็นดาวพหุ 5 ดวงหากเห็นแค่ 4 ให้ลองเพิ่มกำลังขยาย อันที่จริงมี 5 ดวง แต่ดวงสุดท้ายจางและชิดมากดูยาก ดวงสว่างสองดวงดวงหนึ่งสีส้ม อีกดวงสีขาว ลองสังเกตความแตกต่างของสี
- Epsilon Cancri หรือ S574 ดาวคู่ที่ดูง่ายมีแค่ 2 ดวงคู่กัน
- S571 ดาวพหุ 4 ดวงคู่ AB ชิดกันมากห่างแค่ 1 อาร์คเซคั่น เราจะมองเห็น 3 ดวงแยกได้ตั้งแต่กำลังขยายต่ำ มีดวงหนึ่งสีออกส้มกว่าดวงอื่น
- S570 ดาวพหุ 3 ดวงดูง่าย ระยะแยก AB 1ลิดาส่วน AC 3 ลิปดา
- 39 Cancri หรือ ENG37 ระบบดาวพหุ 4 ดวงที่ดูง่ายเช่นกัน เรียงเป็นแถวเป็นแนว
ติดอยู่บ้านก็สนุกกับดูดาวได้ครับ :)
อ้างอิง
Su French, Celestial sampler
View from Whitby Observatory
No comments:
Post a Comment