Sunday 3 November 2019

NGC6888 : Crescent Nebula


NGC6888 สเก็ทช์โดยผู้เขียน
WR136 คือดาวสว่างดวงทางซ้ายมือของสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด

NGC 6888 ในกลุ่มดาวหงส์ เป็น Emissions Nebula ที่อยู่ห่างออกไป 5,000 ปีแสง เกิดจากฟองกาซร้อนที่ถูกพัดออกมาจากดาวประเภทวูล์ฟ-ราเยท์ ชื่อWR136 ที่ปล่อยพลังงานออกมาเท่าๆกับดวงอาทิตย์หนึ่งดวงทุก 10,000 ปี และดาวWR136 ก็อยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต คาดว่าจะระเบิดเป็นซุปเปอร์โนว่าอีกราวหนึ่งล้านปีข้างหน้า

ตำแหน่งห่างจากดาวใจกลางหงส์หรือแกมม่าซิกนี่ (γ Cygni) ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 3 องศา วัดความสว่างรวมได้ 7.4 แมกนิจูด เนื่องจากมีขนาดใหญ่พอควรทำให้ความสว่างพื้นผิวต่ำมาก เนบูล่ามองเห็นเป็นรูปโค้งเกือบครึ่งวงกลมทำให้ได้ชื่อว่า Crescent ค้นพบโดยวิลเลี่ยม เฮอร์เชลล์ ในวันที่ 15 ธันวาคม ปี 1792

การสังเกตครีสเซนท์เราต้องการกล้องดูดาวขนาด 8 นิ้วขึ้นไป ท้องฟ้าต้องใส มืดพอและต้องมีฟิลเตอร์ OIII หรือ UHC ในคืนที่ผมดูแม้ฟ้ารอบด้านไม่ดีนัก โชคดีที่แถวหงส์ฟ้าใสพอดี ตำแหน่งแน่นอนหายากหน่อยเพราะเรามองไม่เห็นเนบูล่า ให้สังเกตดาวสว่างสี่ดวงเรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด

ตัวเนบูล่าดูยากมาก ฟิลเตอร์UHC ช่วยเพิ่มคอนทราสได้ดี OIII ให้ภาพมืดกว่า และถึงจะมีฟิลเตอร์ช่วยผมยังต้องใช้ผ้าคลุมหัวบังแสงจากทุกด้าน หลับตาสักพักแล้วใช้วิธีมองเหลือบจึงเห็นแสงเรืองสว่างรูปเสี้ยวจันทร์ บริเวณที่สว่างที่สุดจะอยู่ตรงดาวทิศเหนือของสี่เหลี่มข้าวหลามตัด

เป็นออบเจคที่ผมต้องดูภาพสเก็ทช์ของนักดูดาวท่านอื่นเทียบเคียงว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นถูกต้องหรือเปล่า ถือว่าดูยากที่สุดตัวหนึ่งและเป็น Challenging ของ Visual Observer ครับ


คลิกภาพเพื่อขยาย


Name: Crescent Nebula
Catalog number: NGC6888
Type: Nebula
Constellation: Cygnus
Visual Magnitude: +7.4
Apparent Size: 20’x10’
Distance: 5000 ly
R.A. 20h 13m 12.64s
Dec. +38° 28’ 35.2”

อ้างอิง
SkySafari
https://freestarcharts.com/ngc-6888

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...