Monday 18 November 2019

Messier 33 : Triangulum Galaxy




ขอบเขตการมองเห็นดาวของมนุษย์โดยทั่วไปจะอยู่ที่ราว 6 แมกนิจูด กาแลกซี่ Triangulum หรือกาแลกซี่ Pinwheel ที่แปลว่ากังหันลมในกลุ่มดาวไทรแองกูลั่มหรือสามเหลี่ยม มีความสว่าง 5.8 แมกนิจูด ดูเหมือนจะสว่างจนมองเห็นได้แต่ในความเป็นจริงกลับเป็นการยากที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่า เพราะวิธีการคำนวณความสว่างนั้นจะมีพื้นที่ผิวมาเกี่ยวข้องด้วย

เอ็ม 33 หรือกาแลกซี่ไทรแองกูลั่มมีขนาดใหญ่พอสมควรทำให้ค่าความสว่างที่ 6 แมกนิจูดถูกกระจายออกไปทั้งพื้นที่ผิวของกาแลกซี่ ความสว่างพื้นผิวหรือ Surface Brightness ก็เลยต่ำ เป็นการยากที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็เป็นไปได้ในคืนที่ฟ้าใส มืด และคนสังเกตมีทักษะการดูที่ดี

เมื่อปลายเดือนตุลาคมระหว่างรอชมดาวอัลกอลหรี่แสงที่อำเภอบ้านหมี่ ผมใช้กล้องสองตาขนาด 8x40 กวาดจากกาแลกซี่แอนโดรเมด้าผ่านดาวเบต้าแอนโดรเมเดไปอีกราวเท่าตัว ครั้งแรกมองข้ามไปไม่พบอะไรแต่เมื่อสายตาเริ่มชินก็มองเห็นฝ้าวงรีจางมาก ขนาดใหญ่พอสมควร

เมื่อดูด้วยกล้องสะท้อนแสง 8 นิ้ว เอ็ม33มีใจกลางสว่างฟุ้งเป็นรูปวงรี เมื่อดูไปนานๆจะเริ่มจับแขนกังหันสองฝั่งตรงข้ามกันได้ด้วยการมองเหลือบ ฝั่งทางทิศเหนือจะใหญ่และสว่างกว่าทางทิศใต้ กล้องดูดาว 8 นิ้วที่กำลังขยาย 56เท่า ภาพแขนกังหันจางมากจต้องใช้ผ้าคลุมศรีษะเพื่อกันแสงจากรอบข้าง แต่ก็รักษาภาพไว้ได้ไม่นาน หากใช้กล้องดูดาวขนาด 12 นิ้วจะทำให้ดูได้ง่ายขึ้นและเป็นไปได้ที่จะมองเห็นเนบูล่าสว่างที่แขนของกังหันด้วย

ผู้ที่ค้นพบอาจเป็น Giovanni Batista Hodiema ก่อนปี 1654 หลังจากนั้น Messier ก็มาเจออีกครั้งแล้วบรรจุลงไปในรายการลับดับที่ 33 ในวันที่ 25 สิงหาคม 1764 Messier บันทึกไว้ว่า

August 25, 1764. 33.
1h 40m 37s (20d 09' 17") +29d 32' 25"

Nebula discovered between the head of the Northern Fish [of Pisces] & the great Triangle, a bit distant from a star of 6th magnitude: The nebula is of a whitish light of almost even density [of brightness],
however a little brighter along two-third of its diameter, & contains no star. One sees it with difficulty with an ordinary telescope of 1-foot [FL].
Its position was determined from Alpha Trianguli. Seen again September 27, 1780. (diam. 15’)

เอ็ม 33 เป็นกาแลกซี่แบบกังหันอยู่ห่างจากเราราวสามล้านปีแสงและมีเส้นผ่านศูนย์กลางราวห้าหมื่นปีแสงหรือครึ่งหนึ่งของกาแลกซี่ทางช้างเผือก คาดว่ามีดาวอยู่ราว 30-40 พันล้านดวงเทียบกับ 200-400พันล้านดวงของทางช้างเผือกและหนึ่งหมื่นล้านดวงของแอนโดรเมด้า ทำให้กาแลกซี่ไทรแองกูลั่มมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามในกลุ่มกาแลกซีท้องถิ่นของเรา

มีความเป็นไปได้ที่เอ็ม 33 จะโคจรรอบกาแลกซี่แอนโดรมีด้า จากการคำนวณการเคลื่อนที่ทำให้ต่อไปข้างหน้าทางช้างเผือก แอนโดรเมด้าและไทรแองกูลั่ม จะชน ควบรวมหรือเฉี่ยวกัน


คลิกภาพเพื่อขยาย


Name: Triangulum Galaxy, Pinwheel Galaxy
Catalog number: M33, NGC598
Type: Spiral Galaxy
Constellation: Trianulum
Visual Magnitude: +5.8
Apparent Size: 61.7’x31.3’
Distance: 3000 kly
R.A. 01h 34m 57.2s
Dec. +30° 45’ 32.9”

อ้างอิง
SkySafari
Robert Burnham, Burnham’s Celestial Handbook

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...