Thursday 14 November 2019

Messier 15


ภาพสเก็ทช์เอ็ม 15 จากกล้องสะท้อนแสง 8" ที่กำลังขยาย 133 เท่า


หนึ่งในห้ากระจุกดาวทรงกลมในแมสซายเออร์แคตตาลอคที่สว่างกว่าแมกนิจูด 7 เอ็ม15 สว่างคาบเส้นกับขอบเขตที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่าพอดีคือแมกนิจูด 6 ตำแหน่งหาไม่ยากอยู่ใกล้หัวม้าเปกาซัส ให้ลากเส้นจากดาว Theta Pegasi (θ Peg)ไปที่ Epsilon Pegasi (ε Peg), เอ็ม 15 จะอยู่เลยออกไป 4 องศา

หากฟ้ามืดพอบางคนก็เห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าดูด้วยกล้องสองตาหรือกล้องเล็งจะคล้ายดาวแต่ไม่สว่างคมเป็นปลายเข็ม เอ็ม 15เป็นวัตถุที่ดูได้สนุกเพราะมองเห็นต่างกันเมื่อใช้กล้องดูดาวต่างขนาดต่างกำลังขยาย ทำให้เหมาะมากสำหรับงาน Star Party

ผมเคยดูด้วย Borg 4 นิ้วที่กำลังขยาย 35เท่ามองเห็นเป็นลูกบอลฝ้าทรงกลมขนาดเล็ก ที่ 85เท่าขนาดใหญ่ขึ้น มีลักษณะไม่สมมาตร ฝั่งทางทิศเหนือจะใหญ่และสว่างกว่าทางทิศใต้ มองเหลือบจะเห็นแถบมืดพาดยาวตามแนวตะวันออกะวันตกทำให้ดูเหมือนมีแขนยืดออกไปสองข้าง ใจกลางสว่างมาก แยกดาวออกเป็นเม็ดได้บริเวณใจกลางด้วยการมองเหลือบราว 10-20 ดวง


ภาพเสก็ทช์จากกล้องดูดาวหักเหแสงขนาด 4" ที่กำลังขยาย 85 เท่า ลองเปรียบเทียบกับภาพบน


เมื่อดูด้วยกล้องสะท้อนแสง 8 นิ้ว กำลังขยาย 33เท่าเป็นทรงกลมฝ้าขนาดเล็ก ที่ 133เท่าเมื่อใช้วิธีมองเหลือบจะห็นดาวมากกว่า 100 ดวงขึ้นไป มีแถบมืดทางทิศเหนือและตะวันออก แต่เในคืนที่ท้องฟ้ามีหมอกควันหนา ภาพที่เห็นจะคล้ายกับที่ได้จากกล้องหักเหแสง 4 นิ้วมาก

คนแรกที่พบคือ Jean-Dominique Maraldi ในปี 1746 ระหว่างมองหาดาวหาง De Chéseaux แมสซายเออร์บันทึกลงใน Messier catalog เมื่อ 3 มิถุนายน 1764 มีขนาดปรากฎในกล้องดูดาวราว 7-8 อาร์มินิท มีความสว่างแมกนิจูด 6.2 อยู่ไกลออกไป 34,000 ปีแสง เป็นตัวที่มีใจกลางที่หนาแน่นมากที่สุดตัวหนึ่งของกระจุกดาวทรงกลมในทางช้างเผือก

นอกจากนั้นเอ็ม 15 ยังพบว่ามีเนบูล่าดาวเคราะห์เป็นฟีเจอร์เสริมเพิ่มความน่าสนใจอีก แต่มีต้องใช้กล้องดูดาวขนาดอย่างน้อย 16 นิ้วและฟิลเตอร์ OIII ในการดู



คลิกภาพเพื่อขยาย



Catalog number: Messier 15, NGC 7078
Type: Globular Cluster
Constellation: Pegasus
Visual Magnitude: +6.2
Apparent Size: 18’
Distance: 34,000 ly
R.A. 21h 30m 54.80s
Dec. +12° 15’ 12.3”



อ้างอิง
SkySafari
http://www.messier.seds.org/m/m015.html

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...