ภาพจากศิลปินแสดงดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ดวงใหญ่จนน่าตกใจในวงโคจรรอบดาวฤกษ์ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้พบดาวเคราะห์ขนาดพอๆ
กับดาวพฤหัส ซึ่งไม่ปกติดวงหนึ่งกำลังโคจรรอบดาวฤกษ์มวลต่ำ
ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ที่เพิ่งพบใหม่มีชื่อว่า
TOI-4860b อยู่ในกลุ่มดาวนกกา(Corvus)
เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่ปกติด้วยสองเหตุผลนี้
เมื่อดาวฤกษ์แม่ของมันมีมวลที่ต่ำมากจนไม่คาดคิดว่าจะมีดาวเคราะห์ก๊าซขนาดใหญ่ได้
และดาวเคราะห์ยังดูเหมือนจะมีธาตุหนักสูงเป็นพิเศษ
การศึกษาซึ่งนำโดยนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม เผยแพร่ใน Monthly
Notices of the Royal Astronomical Society
ดาวเคราะห์ดวงนี้เดิมถูกจำแนกพบโดยปฏิบัติการ TESS(Transiting
Exoplanet Survey Satellite) เมื่อมันทำให้ดาวฤกษ์แม่มีความสว่างลดลงเมื่อมันโคจรผ่านหน้า
แต่ข้อมูลเพียงแค่นี้ก็ยังไม่พอที่จะยืนยันว่ามันเป็นดาวเคราะห์ ทีมจึงใช้หอสังเกตการณ์ทางใต้สเปคคูลูส์
ในทะเลทรายอะตาคามาของชิลี
เพื่อตรวจสอบสัญญาณดาวเคราะห์ในหลายช่วงความยาวคลื่นและระบุธรรมชาติความเป็นดาวเคราะห์ได้
นักดาราศาสตร์ยังได้สำรวจดาวเคราะห์นี้ก่อนและหลังจากที่มันหายไปซ่อนอยู่เบื้องหลังดาวฤกษ์แม่
และสังเกตเห็นได้ว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงความสว่าง
ซึ่งหมายความว่าดาวเคราะห์ไม่ได้เปล่งแสงออกมาแต่อย่างใด สุดท้าย
ทีมร่วมมือกับทีมญี่ปุ่นใช้กล้องโทรทรรศน์ซูบารุที่ฮาวาย
ซึ่งตรวจสอบมวลของดาวเคราะห์ได้ก็ยืนยันมันได้
การติดตามผลดาวฤกษ์และยืนยันดาวเคราะห์ของมันเป็นความคิดริเริ่มจากกลุ่มนักศึกษาปริญญาเอกในโครงการ
SPECULOOS(Search for habitable Planets Eclipsing Ultra-cool Stars)
George Dransfield
หนึ่งในนักศึกษาปริญญาเอกกลุ่มนั้น
ซึ่งล่าสุดเพิ่งเสนอวิทยานิพนธ์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม อธิบาย
ภายใต้แบบจำลองการก่อตัวดาวเคราะห์ที่เรายึดมั่น ยิ่งดาวฤกษ์มีขนาดเล็กเท่าใด
ดิสก์วัสดุสารรอบๆ ดาวฤกษ์ก็จะมีขนาดเล็กตามไปด้วย
เมื่อดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากดิสก์ดังกล่าว
จึงคาดว่าดาวเคราะห์มวลสูงที่คล้ายดาวพฤหัสฯ ไม่น่าจะก่อตัวขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม
เราต้องแปลกใจกับงานนี้และอยากจะตรวจสอบว่าที่ดาวเคราะห์ดวงนี้เพื่อดูความเป็นไปได้
TOI-4860 จึงเป็นการยืนยัน(ความเป็นไปได้)
ครั้งแรกของเรา และยังเป็นดาวมวลต่ำที่สุดเท่าที่เคยพบว่ามีดาวเคราะห์มวลสูงโคจร
Armaury Triaud ศาสตราจารย์ด้านดาวเคราะห์นอกระบบวิทยา
มหาวิทยาลับเบอร์มิงแฮมซึ่งนำการศึกษานี้ กล่าวว่า
ฉันต้องขอบคุณเหล่านักศึกษาปริญญาเอกผู้ปราดเปรื่องเหล่านี้ในทีมของเราด้วยซ้ำที่เสนอว่าจะสำรวจระบบอย่าง
TOI-4860 งานวิจัยนี้ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าเนื่องจากดาวเคราะห์อย่าง
TOI-4860b มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเข้าใจการก่อตัวดาวเคราะห์ให้ลึกซึ้งมากขึ้น
ร่องรอยสิ่งที่อาจเกิดขึ้นถูกซ่อนอยู่ในคุณสมบัติของดาวเคราะห์ดวงนี้
ซึ่งดูเหมือนจะอุดมไปด้วยธาตุหนักเป็นพิเศษ เราได้ตรวจพบบางสิ่งที่คล้ายๆ
กันนี้ในดาวฤกษ์แม่ด้วยเช่นกัน
ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ปริมาณธาตุหนักเร่งกระบวนการก่อตัวดาวเคราะห์ให้ดีขึ้น
ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ดวงใหม่ใช้เวลา 1.52
วันเพื่อโคจรครบรอบดาวฤกษ์แม่
แต่เนื่องจากแม่ของมันเป็นดาวแคระแดงมวลต่ำที่เย็น ดาวเคราะห์เองก็น่าจะเรียกว่า
พฤหัสอุ่น(warm Jupiter) นี่เป็นดาวเคราะห์กลุ่มย่อยที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับนักดาราศาสตร์ที่จะเริ่มต้นการสำรวจและเรียนรู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับดาวเคราะห์ลักษณะนี้ก่อตัวได้อย่างไร
Mathide
Timmermans นักศึกษาปริญญาเอกอีกคนในโครงการ
SPECULOOS ที่ทำงานที่มหาวิทยาลัยลีจในเบลเจียม
กล่าวสรุปว่า ต้องขอบคุณคาบการโคจรที่สั้นมากๆ ของมัน และกับคุณสมบัติดาวฤกษ์แม่
การค้นพบ TOI-4860b ได้ให้โอกาศอันล้ำค่าในการศึกษาคุณสมบัติชั้นบรรยากาศของพฤหัสอุ่นดวงหนึ่ง
และได้เรียนรู้มากขึ้นว่าดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ก่อตัวอย่างไร ล่าสุดนี้
ทีมได้รับเวลาการสำรวจที่ VLT ในชิลี
ซึ่งพวกเขาอยากจะใช้เพื่อยืนยันว่าที่ดาวเคราะห์อีกหลายดวงที่มีคุณสมบัติคล้ายๆ
กัน
แหล่งข่าว phys.org
: new exoplanet discovery builds better understanding of planet formation
space.com : a
Jupiter-size exoplanet formed around a tiny star. Astronomers aren’t sure
how
No comments:
Post a Comment