ภาพจากศิลปินแสดงดาวฤกษ์ก๊าซยักษ์ที่คล้ายดาวพฤหัสฯ แต่อยู่ในวงโคจรประชิดรอบดาวฤกษ์แม่ของมันมากกว่าวงโคจรดาวพุธรอบดวงอาทิตย์(เรียกดาวเคราะห์ชนิดนี้ว่า hot Jupiters) กำลังโคจรเข้าใกล้ดาวฤกษ์แม่มากขึ้นจนน่าจะถูกทำลายในที่สุด
เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์ได้พบดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่งที่วงโคจรของมันกำลังสลายตัวรอบๆ
ดาวฤกษ์เก่าแก่ดวงหนึ่ง พิภพที่โคจรใกล้มากขึ้นเรื่อยๆ
มีจุดจบจะชนและถูกดาวฤกษ์ของมันทำลาย
การค้นพบนี้ให้หลักฐานกระบวนการสลายวงโคจรดาวเคราะห์ที่ค้นหากันมานาน โดยเป็นครั้งแรกที่ได้พบระบบดาวเคราะห์ที่อยู่ในช่วงปลายของวิวัฒนาการ
การถูกดาวฤกษ์แม่ทำลายเป็นชะตากรรมที่คิดกันว่ารอคอยพิภพหลายแห่ง
และอาจจะรวมถึงชะตากรรมของโลกในอีกหลายพันล้านปีข้างหน้าเมื่อดวงอาทิตย์ของเรามีอายุมากขึ้น
Shreyas Vissapragada นักวิจัยที่ศูนย์ฮาร์วาร์ดสมิธโซเนียนเพื่อดาราศาสตร์ฟิสิกส์(CfA)
และผู้เขียนนำการศึกษาใหม่ที่อธิบายผลสรุป
กล่าวว่า
เราเคยได้ตรวจพบหลักฐานดาวเคราะห์นอกระบบที่หมุนวนเข้าหาดาวฤกษ์แม่ของพวกมัน
แต่เราไม่เคยได้เห็นดาวเคราะห์ลักษณะเดียวกันรอบดาวอายุมากมาก่อนเลย
ทฤษฎีได้ทำนายว่าดาวที่มีอายุมากจะมีประสิทธิภาพในการดึงพลังงานจากวงโคจรดาวเคราะห์ของพวกมัน
และขณะนี้เราได้สามารถทดสอบทฤษฎีนี้ได้จากการสำรวจ การค้นพบเผยแพร่ใน The
Astrophysical Journal Letters
ดาวเคราะห์โชคร้ายดวงนี้คือ Kepler-1658b
ตามที่ชื่อระบุนักดาราศาสตร์ได้พบมันด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์
ซึ่งเป็นปฏิบัติการบุกเบิกการตามล่าดาวเคราะห์ซึ่งส่งออกเมื่อปี 2009 ที่แปลกก็คือพิภพแห่งนี้ยังเป็นว่าที่ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกสุดที่เคปเลอร์ได้สำรวจด้วย
แต่ต้องใช้เวลายืนยันเกือบหนึ่งทศวรรษว่าดาวเคราะห์นี้มีอยู่จริง ทำให้ช่วงเวลาที่วัตถุเข้าสู่บัญชีรายชื่อเคปเลอร์อย่างเป็นทางการ
ก็อยู่ที่ลำดับ 1658
Kepler-1658b เป็นดาวเคราะห์ที่เรียกว่า พฤหัสร้อน(hot-Jupiter)
ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลและขนาดพอๆ
กับดาวพฤหัสฯ แต่อยู่ในวงโคจรระยะประชิดรอบดาวฤกษ์แม่จึงมีอุณหภูมิสูงมาก สำหรับ Kepler-1658b
ระยะทางเพียงหนึ่งในแปดส่วนวงโคจรดาวพุธรอบดวงอาทิตย์เท่านั้น
สำหรับพฤหัสร้อนและดาวเคราะห์อื่นๆ ที่คล้าย Kepler-1658b นั้นก็จัดว่าใกล้กับดาวฤกษ์แม่อย่างมาก
การสลายตัวของวงโคจรจะนำไปสู่การทำลาย
การตรวจสอบการสลายตัวของวงโคจรดาวเคราะห์นอกระบบเป็นสิ่งท้าทายนักวิจัยเนื่องจากกระบวนการเกิดขึ้นช้ามากๆ
และค่อยเป็นค่อยไป ในกรณีของ Kepler-1658b จากการศึกษาใหม่บอกว่า คาบการโคจรไม่ถึงสามวัน กำลังลดลงด้วยอัตราราว
131 มิลลิวินาที(แบ่งหนึ่งวินาทีเป็นหนึ่งพันส่วน)
ต่อปี โดยวงโคจรที่สั้นลงบ่งบอกว่าดาวเคราะห์กำลังเคลื่อนที่ใกล้ดาวฤกษ์แม่มากขึ้น
ถ้ามันยังคงหมุนวนเข้าหาดาวฤกษ์แม่ด้วยอัตรานี้
ดาวเคราะห์จะชนกับดาวแม่ในอีกไม่ถึงสามล้านปีข้างหน้า
การตรจสอบคาบที่สั้นลงต้องการการสำรวจอย่างระมัดระวังตลอดหลายปี
การเฝ้าดูเริ่มที่เคปเลอร์และจากนั้นก็ส่งต่อมาที่กล้องโทรทรรศน์เฮลที่หอสังเกตการณ์พาโลมาร์
ในคาลิฟอร์เนียใต้ และสุดท้ายด้วย TESS(Transiting Exoplanet Survey
Satellite) ซึ่งส่งออกสู่อวกาศในปี
2018 อุปกรณ์ทั้งสามต่างก็จับตาดูการผ่านหน้า(transit)
ซึ่งอธิบายเมื่อดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่งเคลื่อนที่ข้ามผิวหน้าดาวฤกษ์ของมัน
และเป็นสาเหตุให้แสงดาวสลัวลงเล็กน้อย ตลอดช่วง 13 ปีที่ผ่านมา
ช่วงห่างระหว่างการผ่านหน้าแต่ละครั้งของ Kepler-1658b สั้นลงเล็กน้อยอย่างคงที่
สาเหตุที่ Kepler-1658b
ต้องพบกับการสลายตัวของวงโคจรก็เพราะแรงบีบฉีก(tidal
force)
แบบเดียวกับที่ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงในมหาสมุทรบนโลก แรงบีบฉีกเกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์แรงโน้มถ่วงระหว่างวัตถุที่หมุนรอบตัว
2 ดวง เช่น
ระหว่างโลกของเรากับดวงจันทร์ หรือ Kepler-1658b กับดาวฤกษ์แม่ของมัน
แรงโน้มถ่วงของวัตถุจะรบกวนรูปร่างของกันและกัน
และเมื่อวัตถุตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ก็จะปลดปล่อยพลังงานออกมา
ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะห่าง, ขนาด และอัตราการหมุนรอบตัวของวัตถุที่เกี่ยวข้อง
ปฏิสัมพันธ์เหล่านี้เป็นผลให้วัตถุผลักกันและกันเหมือนในกรณีดวงจันทร์ของโลกที่ค่อยๆ
ถอยห่างออกไป หรือขยับเข้ามาอย่างกรณี Kepler-1658b
แต่ก็ยังคงมีนักวิจัยอีกจำนวนมากที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับพลวัตเหล่านี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแบบดาวฤกษ์-ดาวเคราะห์
การศึกษาระบบ Kepler-1658 ต่อไปน่าจะช่วยได้
ดาวฤกษ์ดวงนี้ได้พัฒนาตัวไปถึงจุดในวัฎจักรชีวิตที่มันเริ่มขยายตัว
และเข้าสู่สถานะที่นักดาราศาสตร์เรียกว่า กึ่งยักษ์(subgiant phase) โครงสร้างภายในของดาวที่พัฒนาแล้วน่าจะมีความพร้อมที่นำไปสู่การสลายพลังงานโคจรที่ดึงมาจากวงโคจรดาวเคราะห์ในสังกัด
เทียบกับดาวฤกษ์ที่ยังไม่พัฒนา(หรือดาวในวิถีหลัก) อย่างดวงอาทิตย์
นี่จะเร่งกระบวนการสลายตัวของวงโคจร ทำให้ศึกษามันในช่วงชีวิตมนุษย์ได้ง่ายขึ้น
ผลสรุปน่าจะช่วยอธิบายความแปลกประหลาดรอบๆ Kepler-1658b
ซึ่งดูเหมือนจะสว่างกว่าและร้อนกว่าที่คาดไว้
ปฏิสัมพันธ์แรงบีบฉีกที่ทำให้วงโคจรดาวเคราะห์หดลงยังอาจจะแงะพลังงานภายในดาวเคราะห์ออกมาเพิ่มเติมด้วย
Vissapragada ชี้ให้เห็นเหตุการณ์คล้ายๆ
กันกับดวงจันทร์ไอโอ(Io) ของดาวพฤหัสฯ
ซึ่งเป็นวัตถุที่มีกิจกรรมภูเขาไฟรุนแรงที่สุดในระบบสุริยะ
แรงดึงและผลักจากความโน้มถ่วงของดาวพฤหัสฯ ต่อไอโอได้ทำให้ภายในดวงจันทร์หลอมเหลว
หินที่หลอมเหลวก็จะปะทุออกมาบนพื้นผิวร้อนระอุคล้ายพิซซา ที่เต็มไปด้วยกองกำมะถันสีเหลืองและลาวาสีแดงสด
การสำรวจ Kepler-1658b
เพิ่มเติมน่าจะเผยช่องสู่ปฏิสัมพันธ์วัตถุได้มากขึ้น
และเมื่อ TESS ถูกกำหนดให้จับตาดูดาวฤกษ์ใกล้ๆ
หลายพันดวง Vissapragada และเพื่อนร่วมงานคาดว่ากล้องจะได้พบดาวเคราะห์นอกระบบที่กำลังไหลเข้าหาดาวฤกษ์แม่ของมันได้อีก
ขณะนี้ที่เรามีหลักฐานการหมุนวนเข้าหาของดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ที่พัฒนาแล้ว
เราจึงสามารถเริ่มปรับปรุงแบบจำลองฟิสิกส์แรงบีบฉีก ระบบ Kepler-1658
สามารถทำหน้าที่เป็นห้องทดลองไปได้อีกหลายปี
และถ้าโชคดี ในไม่ช้าคงมีห้องทดลองอื่นๆ เพิ่มเติมอีก
แล้วโลกจะเดินหน้าในชะตากรรมเดียวกันนี้หรือไม่ในอีก
5 พันล้านปีข้างหน้า
เมื่อดวงอาทิตย์ของเราจะพัฒนาเป็นดาวยักษ์แดง(red giant) กระบวนการสลายวงโคจรอย่างที่เกิดกับ Kepler-1658b
ก็จะทำให้วงโคจรโลกค่อยๆ สลายตัด้วย
แต่ผลกระทบนี้จะถูกหักล้างจากการสูญเสียมวลของดวงอาทิตย์
ชะตากรรมสุดท้ายของโลกจึงยังไม่แน่ชัด
แหล่งข่าว phys.org
: alien planet found spiraling to its doom around an aging star
phys.org : planet
spiraling into star may offer glimpse into Earth’s end
space.com : doom-spiraling
exoplanet will someday meet fiery demise
No comments:
Post a Comment