ภาพจากสถานีอวกาศนานาชาติแสดงสีต่างๆ ของการเรืองแสงของชั้นบรรยากาศ(airglow)
เมื่อมองท้องฟ้าวันที่แดดสดใสไร้เมฆ
คุณจะเห็นฟ้าสีฟ้า แต่นี่เป็นสีที่แท้จริงของท้องฟ้าหรือไม่
หรือสีฟ้าเป็นสีเดียวของท้องฟ้า
คำตอบอาจจะซับซ้อนเล็กน้อย
แต่ก็เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของแสง, อะตอม และโมเลกุล
และเรื่องจุกจิกในชั้นบรรยากาศโลก และเลเซอร์ยักษ์ด้วย
ดังนั้นแล้ว สิ่งแรกๆ
เมื่อเรามองท้องฟ้าสีฟ้าในวันที่แดดดี เรากำลังได้เห็นอะไร
เรากำลังเห็นสีฟ้าของไนโตรเจน หรือสีฟ้าของออกซิเจนกันแน่ คำตอบง่ายๆ ก็คือ ไม่ใช่
แทนที่จะมองเห็นแสงสีฟ้า สิ่งที่เราเห็นก็คือแสงอาทิตย์ที่เกิดการกระเจิง(scattering)
ดวงอาทิตย์ผลิตแสงช่วงตาเห็นในสเปคตรัมที่กว้าง
ซึ่งเรามองเห็นเป็นสีขาวนั้นแท้ที่จริงแล้วมันประกอบด้วยสีทั้งหมดบนสายรุ้ง
เมื่อแสงอาทิตย์ผ่านทะลุอากาศ,
อะตอมและโมเลกุลในชั้นบรรยากาศ
จะเกิดการกระเจิงของแสงสีฟ้าออกมากกว่าแสงสีแดงในทุกทิศทุกทาง นี่เรียกว่า
การกระเจิงเรย์ลีห์(Rayleigh scattering) และผลที่ได้ก็คือ
ดวงอาทิตย์สีขาวและท้องฟ้าสีฟ้าในกลางวันที่สดใส
แต่เมื่ออาทิตย์ตก
เราจะได้เห็นผลในทางย้อนกลับ
เนื่องจากแสงอาทิตย์จะต้องผ่านอากาศมากขึ้นเพื่อมาถึงเรา
เมื่อดวงอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้า แสงสีฟ้าทั้งหมดก็กระเจิง(หรือถูกดูดกลืนโดยฝุ่น)
ดังนั้น เราจึงได้ดวงอาทิตย์สีแดง โดยมีเฉดสีฟ้าอยู่รอบๆ
แล้วถ้าแสงที่เราได้เห็นเป็นแสงที่กระเจิงออกมาทั้งหมด
แล้วสีที่แท้จริงของท้องฟ้าเป็นสีอะไร บางทีเราจะหาคำตอบได้ในตอนกลางคืน
ถ้ามองท้องฟ้ายามกลางคืน มันก็ดูจะมืด แต่ก็ไม่ได้ดำปี๋
ใช่เพราะว่ามีดาวอยู่มากมาย แต่ท้องฟ้ายามค่ำคืนก็เรืองสว่างด้วย
ไม่ใช่เพราะมลภาวะทางแสง แต่เพราะชั้นบรรยากาศเรืองแสงเองตามธรรมชาติ
ในคืนเดือนมืดในย่านชนบทไกลกว่าแสงของเมือง คุณจะมองเห็นต้นไม้และเนินเขาเป็นเงาตัดกับท้องฟ้า
แสงเรืองนี้เรียกว่า airglow เกิดขึ้นจากอะตอมและโมเลกุลในชั้นบรรยากาศ
ในช่วงแสงที่ตาเห็น ออกซิเจนจะสร้างสีเขียวและสีแดง โมเลกุลไฮดรอกซิล(OH) สร้างสีแดง และโซเดียมสร้างสีเหลือง
ไนโตรเจนซึ่งพบได้มากกว่าโซเดียมในอากาศ ไม่ได้มีผลต่อแอร์โกลว์เท่าใดนัก
สีที่โดดเด่นของ airglow จึงเป็นผลจากอะตอมและโมเลกุลที่เปล่งพลังงานที่จำเพาะ(ควอนตา)
ในรูปแบบของแสง ยกตัวอย่างเช่น ที่ระดับความสูงที่มาก
แสงอุลตราไวโอเลตจะสามารถแยกออกซิเจน(O2) ออกเป็นอะตอมออกซิเจน
2 อะตอม
และเมื่ออะตอมเหล่านี้กลับไปรวมกันกลายเป็นโมเลกุลออกซิเจนเหมือนเดิม จะสร้างแสงสีเขียวออกมา
โซเดียมซึ่งพบเพียงน้อยนิดในชั้นบรรยากาศ
แต่ก็ส่งผลอย่างมากต่อแอร์โกลว์ และก็มีกำเนิดที่ไม่ปกติอย่างมาก คือ มาจากดาวตก
เมื่อคุณได้เห็นดาวตกในยามค่ำคืนที่ฟ้ามืด
อาจจะมีอุกกาบาตก้อนจิ๋วที่เป็นเม็ดฝุ่นซึ่งร้อนขึ้นและระเหยในชั้นบรรยากาศส่วนบน
เมื่อพวกมันเดินทางด้วยความเร็วมากกว่า 11 กิโลเมตรต่อวินาที
เมื่อดาวตกวิ่งผ่านท้องฟ้า ที่ราวระดับความสูง 100 กิโลเมตร จะทิ้งรอยอะตอมและโมเลกุลไว้
บางครั้งก็มองเห็นดาวตกในสีที่แตกต่างกัน
ซึ่งเป็นผลจากอะตอมและโมเลกุลที่มีในดาวตก ดาวตกที่สว่างมากๆ จะทิ้งเส้นควันให้มองเห็นได้
และในบรรดาอะตอมและโมเลกุลเหล่านั้น ก็คือโซเดียมจำนวนน้อยนิดด้วย ชั้นของอะตอมโซเดียมที่อยู่สูงนี้แท้จริงแล้วมีประโยชน์สำหรับนักดาราศาสตร์
ชั้นบรรยากาศของเรานั้นมีการเคลื่อนที่แบบตั้งฉาก กล่าวคือ
ความปั่นป่วนและทำให้ภาพดาวเคราะห์, ดาวและกาแลคซีเบลอ
เพื่อชดเชยผลจากความปั่นป่วนในชั้นบรรยากาศนี้
นักดาราศาสตร์ต้องถ่ายภาพดาวที่สว่างอย่างรวดเร็ว
และตรวจสอบว่าภาพของดาวบิดเบี้ยวไปแค่ไหน
กระจกพิเศษที่บิดไปมาก็จะถูกปรับเพื่อกำจัดการรบกวนนี้ สร้างภาพที่บางครั้งก็คมชัดกว่าที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ
เทคนิคซึ่งเรียกว่า adaptive optics นี้ทรงพลังแต่ก็ยังมีปัญหาใหญ่ก็คือ
ไม่ได้มีดาวที่สว่างตามธรรมชาติพอสำหรับระบบให้ทำงานได้ตลอดทั้งคืน ดังนั้น
นักดาราศาสตร์จึงสร้างดาวประดิษฐ์ขึ้นบนท้องฟ้าเรียกว่า ดาวนำทางเลเซอร์(laser
guide stars)
โซเดียมอะตอมเหล่านั้นอยู่สูงเหนือชั้นบรรยากาศที่ปั่นป่วน
และเราสามารถทำให้มันเรืองสว่างไสวโดยการยิงเลเซอร์ขึ้นไปเปลี่ยนให้โซเดียมเรืองสีเหลือง
ดาวประดิษฐ์ที่ได้ก็จะถูกใช้กับระบบปรับกระจกต่อไป
ดาวตกที่คุณได้เห็นจึงช่วยเราให้ได้มองเห็นเอกภพได้ชัดเจนขึ้น
ดังนั้น ท้องฟ้าจึงไม่ได้เป็นสีฟ้าตลอด
เมื่อมีการเรืองแสงบนท้องฟ้ายามค่ำคืนด้วย ซึ่งมีสีผสมระหว่างเขียว, เหลือง และแดง
สีของมันเป็นผลจากแสงอาทิตย์ที่กระเจิงออก, ออกซิเจนและโซเดียมจากดาวตก
แหล่งข่าว space.com
: the sky isn’t just blue – airglow makes it green, yellow and red too
astronomy.com : the sky isn’t just blue – airglow makes it
green, yellow and red too
No comments:
Post a Comment