ภาพจากศิลปินแสดงการรบกวนด้วยแรงโน้มถ่วง(tidal disruption event) เมื่อหลุมดำมวลมหาศาลแห่งหนึ่งได้ยืดดาวโชคร้ายดวงหนึ่งออกเป็นเส้น(spaghettify) และกลืนลงไป แต่วัสดุสารบางส่วนก็ไม่ได้ถึงปากหลุมดำและถูกสาดกลับออกสู่อวกาศ
เมื่อดาวเข้าใกล้หลุมดำยักษ์มากเกินไป
พวกมันจะถูกฉีกยืดออกคล้ายสปาเกตตี้ นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า tidal
disruption event(TDE) ซึ่งเมื่อวัสดุสารที่ยืดยาวออกหมุนวนไปรอบหลุมดำและร้อนขึ้น
จะมีการพ่นวัสดุสารบางส่วนออกสู่อวกาศ แต่ในกรณีของ AT2018hyz กลับมีบางสิ่งที่ไม่น่าเชื่อและไม่เคยพบเห็นมาก่อนเกิดขึ้น
เมื่อดาวถูกฉีกออกและพ่นวัสดุสารออกมา และจากนั้นอีกสามปีต่อมา
หลุมดำก็คายวัสดุสารออกมาอีกรอบ
Yvette Cendes ผู้เขียนหลักรายงานฉบับใหม่
จากศูนย์ฮาร์วาร์ดสมิธโซเนียนเพื่อดาราศาสตร์ฟิสิกส์(CfA) กล่าวในแถลงการณ์ว่า
นี่ทำให้เราประหลาดใจอย่างคาดไม่ถึง ไม่มีใครเคยได้เห็นอะไรแบบนี้มาก่อน
เหตุการณ์ซึ่งเริ่มสำรวจพบในเดือนตุลาคมปี 2018
ในกาแลคซีแห่งหนึ่งซึ่งห่างออกไป 665
ล้านปีแสง โดยนักดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตทอันเป็นส่วนหนึ่งจากโครงการสำรวจ
ASAS-SN AT2018hyz มีความพิเศษ
การเปล่งคลื่นของเหตุการณ์สอดคล้องกับดาวฤกษ์ขนาดเล็กดวงหนึ่งซึ่งมีมวลราวหนึ่งในสิบของดวงอาทิตย์ของเรา
ถูกฉีกออกโดยหลุมดำแห่งหนึ่ง แต่ในขณะที่ตรวจสอบ TDEs อื่นๆ
ทีมก็ได้พบวัตถุนี้ลุกจ้าขึ้นอีกครั้งและในแบบที่พิเศษ
เมื่อหลุมดำยิงวัสดุสารออกมาด้วยความเร่งราว 50% ความเร็วแสง ซึ่งเร็วกว่าที่กระแสไหลออกจาก TDE
เกือบทุกเหตุการณ์ถึง 5 เท่า อะไรก็ตามที่ขึ้นในระบบแห่งนี้จะต้องพิเศษอย่างมาก
เราได้ศึกษา TDEs อื่นๆ
ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุมานานกว่าหนึ่งทศวรรษแล้ว
และบางทีเราก็พบว่าพวกมันสว่างในช่วงวิทยุเมื่อพ่นวัสดุสารออกมาในตอนที่หลุมดำได้เริ่มกลืนดาวเข้าไป
Edo Berger ศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์
ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ CfA ผู้เขียนร่วมการศึกษาใหม่นี้
กล่าว แต่ใน AT2018hyz ในสามปีแรกกลับเงียบกริบในช่วงคลื่นวิทยุ
แต่ขณะนี้มันสว่างขึ้นกลายเป็น TDEs ที่สว่างที่สุดในช่วงวิทยุเหตุการณ์หนึ่งเท่าที่เคยสำรวจมา
การค้นพบเหตุการณ์ลักษณะนี้ได้สร้างคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของหลุมดำมวลมหาศาล(supermassive
black holes) นักดาราศาสตร์ทราบดีว่ายักษ์ใหญ่เหล่านี้เป็นตัวกินเละเทะ
แต่ดูเหมือนว่าพฤติกรรมการกินของพวกมันก็ยังคงเป็นปริศนา
นี่เป็นครั้งแรกที่เราได้พบความล่าช้าอย่างมากระหว่างการกลืนกินกับการพ่นคายออกมา Berger
กล่าว
ก้าวต่อไปก็จะตรวจสอบว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้จริงๆ
แล้วเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน และเราก็แค่ไม่ได้ตรวจสอบ TDEs อื่นๆ ช้าพอที่จะเห็นวิวัฒนาการเหล่านี้หรือไม่ ผลสรุปนี้รวมทั้งการสำรวจเหตุการณ์ที่คล้ายๆ
กันจะช่วยนักดาราศาสตร์ให้เข้าใจพฤติกรรมการกินของหลุมดำได้ดีขึ้น ซึ่งจะเปิดช่องทางสู่การเจริญและการพัฒนาของหลุมดำ
และบทบาทของพวกมันในวิวัฒนาการกาแลคซี การศึกษาเผยแพร่ใน Astrophysical
Journal
แหล่งข่าว iflscience.com
: never-before-seen eruption sees black hole burp material years after it ate
star
phys.org : black
hole burps up shredded star
sciencealert.com : this
black hole devoured a star years ago. Now it’s “burped” something out
No comments:
Post a Comment