ภาพจากศิลปินแสดงดาวฤกษ์มวลสูงที่ 300 เท่ามวลดวงอาทิตย์ กลายเป็นซุปเปอร์โนวา
ดาวฤกษ์ดวงแรกๆ
สุดน่าจะก่อตัวขึ้นเมื่อเอกภพมีอายุเพียง 1 ร้อยล้านปีเท่านั้น หรือไม่ถึง 1% ของอายุเอกภพปัจจุบัน ดาวดวงแรกๆ
สุดซึ่งเรียกกันว่า ประชากรกลุ่ม 3(Population III star) มีขนาดใหญ่โตอย่างมากจนเมื่อพวกมันจบชีวิตลงกลายเป็นซุปเปอร์โนวา
พวกมันจะฉีกออกเป็นชิ้นๆ อย่างไม่เหลือซาก ส่งต่อธาตุหนักให้กับสสารในห้วงอวกาศ
แต่แม้ว่าจะเสาะหามาหลายทศวรรษ
นักดาราศาสตร์ก็ยังไม่พบหลักฐานของดาวโบราณเหล่านี้โดยตรง
ด้วยการวิเคราะห์หนึ่งในเควซาร์(quasar)
ซึ่งห่างไกลที่สุดเท่าที่เคยพบมาที่ปรากฏเมื่อเอกภพมีอายุเพียง
7 ร้อยล้านปี ด้วยกล้องโทรทรรศน์เจมิไนเหนือ
ขณะนี้นักดาราศาสตร์คิดว่าสามารถจำแนกวัสดุสารเศษซากจากการระเบิดของดาวรุ่นแรกสุดได้
ด้วยการใช้วิธีการอันล้ำยุคเพื่อระบุธาตุทางเคมีที่มีในเมฆก๊าซรอบๆ เควซาร์แห่งนี้
นักวิจัยสังเกตเห็นองค์ประกอบที่ไม่ปกติอย่างมาก
เป็นวัสดุสารที่มีเหล็กสูงกว่ามักนีเซียมเกิน 10 เท่าเมื่อเทียบกับอัตราส่วนที่พบในดวงอาทิตย์ของเรา
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าคำอธิบายที่เป็นไปได้มากที่สุดของรายละเอียดที่สะดุดใจนี้ก็คือ
วัสดุสารนี้หลงเหลือมาจากดาวรุ่นแรกที่ระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวาชนิดคู่ไร้เสถียรภาพ(pair-instability
supernova) ซุปเปอร์โนวาแบบที่ทรงพลังอย่างมากนี้ไม่เคยถูกพบจริง
แต่มีทฤษฎีว่าจะเป็นจุดจบของชีวิตดาวขนาดมหึมาที่มีมวลตั้งแต่ 150 ถึง 250 เท่ามวลดวงอาทิตย์
ซุปเปอร์โนวาแบบคู่ไร้เสถียรภาพนี้
เกิดขึ้นเมื่อโฟตอนที่ใจกลางดาวดวงหนึ่ง ได้เปลี่ยนกลายเป็นอิเลคตรอนและโพสิตรอน
(positron;
ปฏิสสารของอิเลคตรอน) พร้อมกันหมด การเปลี่ยนสภาพนี้ลดแรงดันการแผ่รังสี(radiation
pressure) ภายในดาวลงอย่างฉับพลัน
ทำให้แรงโน้มถ่วงกดลงมาและนำไปสู่การยุบตัวและต่อมา ก็ระเบิดออก
แต่ซุปเปอร์โนวาชนิดนี้ไม่เหมือนกับซุปเปอร์โนวาอื่น
เมื่อไม่มีซากดาวไม่ว่าจะเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ หลงเหลืออยู่ และจะสาดวัสดุสารทั้งหมดออกสู่สภาพแวดล้อม
จึงมีเพียงสองวิธีเท่านั้นที่จะพบหลักฐานนี้ ทางแรกก็คือ
จับซุปเปอร์โนวาคู่ไร้เสถียรภาพให้ได้แบบคาหนังคาเขา ซึ่งเป็นไปได้ยากมากๆ
และอีกทางก็คือ จำนวนสัญญาณสารเคมีจากวัสดุสารที่ซุปเปอร์โนวาปล่อยออกสู่อวกาศ
สำหรับงานวิจัยใหม่ล่าสุดซึ่งเผยแพร่ใน Astrophysical
Journal นักดาราศาสตร์ได้ศึกษาผลจากการสำรวจก่อนหน้านี้ที่ทำโดยกล้องเจมิไนเหนือขนาด
8.1 เมตรโดยใช้ GNIRS(Gemini
Near-infrared Spectrograph) สเปคโตรกราฟนี้จะแยกแสงที่วัตถุฟากฟ้าเปล่งออกมาให้เป็นองค์ประกอบที่เรียกว่า
สเปคตรัม ซึ่งจะนำข้อมูลว่าในวัตถุมีธาตุใดอยู่บ้าง
เจมิไนเป็นกล้องขนาดใหญ่เพียงไม่กี่ตัวที่มีเครื่องมือที่ใช้เพื่อการสำรวจแบบนี้
การระบุปริมาณของธาตุแต่ละชนิดที่มีอยู่
เป็นเป้าหมายที่ยุ่งยากเนื่องจากความสว่างของเส้นในสเปคตรัมหนึ่งๆ
ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย นอกเหนือจากปริมาณของธาตุ
ผู้เขียนร่วมสองคนในการวิเคราะห์นี้คือ Yuzuru Yoshii และ Hiroaki Sameshima จากมหาวิทยาลัยโตเกียว
ได้ฟาดฟันกับปัญหานี้โดยพัฒนาวิธีการใช้ความเข้มในช่วงความยาวคลื่นแสงจากสเปคตรัมแสงของเควซาร์
เพื่อประเมินปริมาณธาตุที่มีที่นั้น เมื่อใช้วิธีการนี้วิเคราะห์สเปคตรัมเควซาร์
ทีมก็พบอัตราส่วนมักนีเซียม-เหล็กที่ต่ำอย่างผิดปกติ
ดูเผินๆ
สำหรับผมแล้วว่าที่ซุปเปอร์โนวาที่สร้างสิ่งนี้น่าจะเป็นคู่ไร้เสถียรภาพจากประชากรดาวกลุ่ม
3 ซึ่งดาวทั้งดวงระเบิดหายไปโดยไม่ทิ้งซากใดๆ
ไว้เลย Yoshii กล่าว
ผมดีใจและก็ประหลาดใจในบางทีที่ได้พบซุปเปอร์โนวาคู่ไร้เสถียรภาพจากดาวฤกษ์ที่มีมวลระดับ
300 เท่าดวงอาทิตย์
จะให้อัตราส่วนมักนีเซียม/เหล็ก
ที่สอคดล้องกับ(อัตราส่วน)ระดับต่ำที่เราหาได้จากเควซาร์
เคยมีการสำรวจหาหลักฐานทางเคมีของประชากรกลุ่ม 3 มวลสูงรุ่นก่อนๆ หน้านี้มาก่อน กับดาวในฮาโล(halo)
ของทางช้างเผือก
และก็มีว่าที่แห่งหนึ่งปรากฏในปี 2014 อย่างไรก็ตาม
Yoshii และเพื่อนร่วมงานคิดว่าผลสรุปใหม่ให้สัญญาณซุปเปอร์โนวาคู่ไร้เสถียรภาพที่ชัดเจนที่สุด
อ้างอิงจากอัตราส่วนปริมาณมักนีเซียม/เหล็กที่ต่ำมากๆ
ที่ปรากฏในสเปคตรัมจากเควซาร์นี้
ถ้านี่เป็นหลักฐานหนึ่งในดาวฤกษ์ดวงแรกๆ
และเป็นซากของซุปเปอร์โนวาคู่ไร้เสถียรภาพจริง การค้นพบนี้ก็จะช่วยเติมภาพวิวัฒนาการการสร้างสสารในเอกภพจนกระทั่งเป็นอย่างปัจจุบัน
เพื่อทดสอบการแปลผลนี้
ยังต้องการการสำรวจอีกมากเพื่อดูว่าจะมีวัตถุอื่นที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกันนี้หรือไม่
แต่เราก็อาจจะสามารถค้นหาสัญญาณเคมีที่อยู่ใกล้โลกมากขึ้นได้ด้วย
แม้ว่าประชากรดาวกลุ่ม 3 จะสาบสูญไปนานมากแล้ว
แต่ร่องรอยทางเคมีที่พวกมันเหลือทิ้งไว้ในวัสดุสารที่ผลักออกมา
ก็คงอยู่ได้ยาวนานกว่าและยังอาจจะคงลอยอ้อยอิ่งจนถึงทุกวันนี้
นี่หมายความว่านักดาราศาสตรือาจจะสามารถค้นหาสัญญาณของซุปเปอร์โนวาคู่ไร้เสถียรภาพจากดาวที่ระเบิดเมื่อนานมาแล้ว
ฝังตรึงอยู่ในวัตถุในเอกภพท้องถิ่น Timothy Beers ผู้เขียนร่วม
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนอเตรดัม กล่าวว่า ขณะนี้เราทราบว่าจะมองหาอะไร
เราก็มีหนทางแล้ว ถ้าเกิดซุปเปอร์โนวาในละแวกนี้ในเอกภพยุคต้นๆ
ดังนั้นเราก็น่าจะพบหลักฐาน
แหล่งข่าว phys.org
: potential first traces of the universe’s earliest stars
space.com : astronomers
discover traces of “super-supernovas” that destroyed earliest stars
No comments:
Post a Comment