เศษซากที่เหลือขของการระเบิดกระจัดกระจายอยู่รอบๆดาวดวงนั้นนั่นเอง หากดูจากภาพถ่ายจะเห็นว่ามีเนบิวล่าเต็มไปทั่วบริเวณ คล้ายเศษผ้าที่โดนฉีกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่เนบิวล่าตัวที่เราพอจะมองเห็นได้จากกล้องดูดาวขนาดเล็กทั่วไปมีอยู่สองตัว คือ NGC6995 และ NGC6960 Veil Nebula ฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก
Veil เป็นเนบิวล่าที่ดูยากสำหรับกล้องดูดาวขนาดเล็ก แต่สามารถช่วยให้ดูง่ายขึ้นด้วยฟิลเตอร์พิเศษอย่าง OIII หรือ UHC และอย่าลืมตรวจสอบ NGC6974ที่อยู่ตรงกลาง น่าจะมองเห็น แต่ใครอยากเห็นทั้งสองตัวอยู่ด้วยกันในฟิลด์เดียวต้องใช้เลนส์ตาที่ให้มุมกว้างเกือบๆ 4 องศาจึงสวย
วิลเลี่ยม เฮอร์เชลล์เป็นคนพบค้นแรกเมื่อปี 1784 ด้วยกล้องดูดาวขนาด 18 นิ้ว
NGC6960 หาไม่ยากเพราะมีดาวสว่างแมกนิจูดที่สี่ - 52 Cygni เป็นหมาย เนบิวล่าจะเป็นเส้นโค้งวางตามแนวทิศเหนือใต้ มีขนาดเกือบสององศาในกล้องหักเหแสงสี่นิ้ว
จาก NGC6960 ไปทางตะวันออกราว 3 องศา จะพบ NGC6995 วางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ มองเห็นขนาดยาวพอกัน มีรูปร่างโค้ง ปลายฝั่งทิศใต้แตกออกเป็นสองขา หากกล้องดูดาวตัวใหญ่พอจะเห็นโครงสร้างที่เป็นเส้นใยในตัวเนบิวล่าอันเป็นที่มาของชื่อ Filamentary Nebula หรือเนบิวล่าเส้นใย 6960 เป็นตัวที่มองเห็นได้จากกล้องสองตา 8x50 แต่ฟ้าต้องดีมากและมืดสนิท
อย่าลืมที่จะลองมองหา NGC9674 ที่ห่างจาก 52 Cygni ไปทางตะวันออก ไม่ถึงหนึ่งองศาตัวนี้มีชื่อว่า Filamentary เช่นกัน
ใครที่ชอบดูเนบิวล่าก็แนะนำให้หาฟิลเตอร์ multiband อย่าง UHC มาประจำการ Narrow band อย่าง OIII ก็ได้แต่จะมืดกว่า ดูยากกว่า ฟิลเตอร์พวกนี้ช่วยได้มากในสภาวะที่มลพิษทางแสงหนักหนานักในปัจจุบัน
ขอให้มีความสุขกับการสำรวจท้องฟ้าครับ
Name: Veil Nebula
Catalog Number: NGC6960, 6995
Type: Emission Nebula
Visual Magnitude: +5.0, +5.0
Dimension: 70.0’ x 6.0’, 60.0’ x 30.0’
Constellation:Cygnus
Distance: 2600 ly
Coordinates:
NGC6960
RA: 20h 46m 32.82s
DEC:+30° 47’ 31.5”
NGC6995
RA: 01h 47m 10.79s
DEC:+31° 47’ 35.6”
Catalog Number: NGC6960, 6995
Type: Emission Nebula
Visual Magnitude: +5.0, +5.0
Dimension: 70.0’ x 6.0’, 60.0’ x 30.0’
Constellation:Cygnus
Distance: 2600 ly
Coordinates:
NGC6960
RA: 20h 46m 32.82s
DEC:+30° 47’ 31.5”
NGC6995
RA: 01h 47m 10.79s
DEC:+31° 47’ 35.6”
No comments:
Post a Comment