Tuesday, 1 September 2020

Messier 7 : Ptoleme Cluster

 



M7 Digital Sketch โดยผู้เขียน

บ้านเราอยู่ในเขตร้อนชื้นใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้เดือนสิงหาคมมีเมฆมาก ฝนชุก ต่างกับประเทศที่ตั้งอยู่ละติจูดสูงขึ้นไปจะเป็นฤดูร้อน ทำให้พวกเราไม่คุ้นเคยกับกลุ่มดาวในฤดูนี้เท่าไหร่ ทั้งที่ป็นช่วงที่ท้องฟ้าสวยงามที่สุดช่วงหนึ่งของปี

อาทิตย์ก่อนฟ้ามีจังหวะฟ้าเปิดแม้เป็นเวลาสั้นๆ2-3 วัน ตอนหัวค่ำทางทิศใต้เต็มไปด้วยดาวเต็มฟ้า คนแบกงูยืนเหยียบแมงป่องที่ตะแคงข้างอยู่ใต้ฝ่าเท้า กาน้ำชาเอียงรินพวยกาลงมาที่หางแมงป่อง เป็นภาพสวยงามแม้จะมีแสงจากเมืองใหญ่รบกวนมากก็ตาม

หากอยู่ไกลตัวเมืองสักหน่อย จะเห็นทางช้างเผือกบริเวณหางแมงป่อง พาดผ่านพวยกาน้ำชาข้ามฟ้าไปทางเหนือ เหนือหางแมงป่องไปทางตะวันออกเฉียงเหนือมีฝ้าฟุ้ง นี่คือกระจุกดาวแมสซายเออร์หมายเลข 7

เอ็ม 7 มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าทำให้เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ ปรากฎในหนังสือเก่าแก่ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 130 “Almagest” โดย “Ptoleme” มีข้อความกล่าวถึงไว้ว่า “เนบิวล่า ที่ปลายหางของแมงป่อง” ซึ่งก็อาจจะหมายถึงเอ็ม 6 ก็เป็นไปได้

ปัจจุบัน “กระจุกดาวปโตเลมี” หมายถึง เอ็ม 7 ในขณะที่เอ็ม 6 ที่อยู่ใกล้ๆเรียกกันว่า ”กระจุกดาวผีเสื้อ” ในกล้องสองตาจะเห็นกระจุกดาวทั้งคู่สว่างมีทางช้างเผือกที่เลือนลางและห่างไกลเป็นพื้นหลัง เป็นภาพที่สวยงามยิ่ง

ภาพจากกล้องดูดาวของผมที่กำลังขยาย 21 เท่า ได้ขนาดภาพราวสององศาครึ่ง เอ็ม 7 มีขนาดกำลังดีในเลนส์ตา ใจกลางกระจุกจะเห็นดาวสว่างราว 10 ดวงเรียงเป็นรูปตัวอักษร “W” ล้อมรอบด้วยดาวน้อยใหญ่อีกเกือบ 20 ดวง กระจุกดาวที่ปะมาณ 220 ล้านปี ไกลจากเรา ราว 1000 ปีแสง





ชื่อ: Ptoleme Cluster 
กลุ่มดาว: Scorpius 
Catalog No.: Messier 7, NGC6475 
ประเภท: Open Cluster 
Visual Magnitude: +3.3 
Apparent size: 80 arcmin 
ระยะทางจากโลก: 980 ly 
R.A.: 17h 55m 12.39s 
Dec.: -34° 47’ 10.8” 
ความยาก: 1

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...