Thursday 10 September 2020

NGC6231

 


NGC6231 ที่ 133 เท่า


NGC6231 ที่ 21เท่า


ค่ำนี้เป็นคืนที่สองที่มีดาวให้ดูในรอบสองสามเดือน กลุ่มดาวแมงป่องตอนปลายเดือนสิงหาคมตะแคงข้างทางทิศใต้ กระจุกดาวที่เป็นที่รู้จักดีอีกตัว ห่างจากดาวซีต้าสคอร์ปีแต่ครึ่งองศา NGC6231 กระจุกดาวที่ดูคล้ายดาวหางเมื่อดูด้วยตาเปล่าหรือกล้องสองตา

ท้องฟ้าบริเวณนี้หากมืดสนิทจะเป็นบริเวณที่สวยที่สุดจุดหนึ่งบนฟ้า เพราะอยู่บนจุดที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือก มีกระจุกดาวและเนบิวล่าให้สำรวจมากมายด้วยกล้องสองตาหรือกล้องดูดาวขนาดเล็กที่กำลังขยายต่ำ 

กระจุกดาวตัวนี้ ค้นพบโดย จีวานนี้ โฮเดียน่า มีการกล่าวถึงว่าเป็น “luminosae” หรือแสงสว่าง ในหนังสือ “De Admirands Coeli Charecteribus” ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1654 เป็นกระจุกดาวเกิดใหม่ที่อายุน้อยมากคือราว 3.2 ล้านปีเท่านั้น

ผมว่าดูสวยด้วยกล้องสองตา ถ้าฟ้ามืดพอจะเห็นดาวพราวพราย นอกจาก NGC6312 แล้วยังมี Tr24 และ NGC6242 ที่เห็นในฟิลด์เดียวกัน

หากดูในกล้องดูดาวที่กำลังขยายต่ำ ฟิลด์ภาพจะแคบลงแต่จะเห็นรายละเอียดที่ใจกลางกระจุกดาวมากขึ้น ซีต้าสคอร์ปีเป็นดาวคู่ที่แยกได้ง่ายและยังเป็นส่วนหนึ่งของ NGC6231 อีกด้วย ซีต้า 1 สีแดงอมเหลือง ซีต้า 2 สีแดงสดและสว่างกว่า





Catalog No.: NGC6231 
กลุ่มดาว: Scorpius 
ประเภท: Open Cluster 
Visual Magnitude: +2.6 
Apparent size: 14 arcmin 
ระยะทางจากโลก: 4100 ly 
R.A.: 16h 55m 35.85s 
Dec.: -41° 50’ 55.3” 
ความยาก: 1

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...