Thursday, 27 August 2020

Alpha Scopii, Antares

 

แอนทาเรส บี มองเห็นเป็นตุ่มขนาดจิ๋วบนแอรี่ดิสก์วงในสุด
ภาพสเก็ทช์โดยผู้เขียน


“แอนทาเรส” ดาวสีแดงที่อยู่ในตำแหน่งหัวใจของแมงป่องดวงนี้มีชื่อภาษาไทยว่า “ปาริชาต” เป็นดาวสว่างลำดับที่ 16 บนฟ้า เป็นหนึ่งในสี่ดาวสว่างแมกนิจูดที่หนึ่งที่เกาะไม่เกินห้าองศาจากแนวสุริยะวิถีทำให้มีโอกาสเกิดการบังโดยดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์ได้

แอนทาเรสเป็นดาวคู่ที่สวย น่าสนใจและดูยากดวงหนึ่งเพราะความสว่างที่ต่างกันมาก แอนทาเรส บีดวงจิ๋วมักจะได้รับการบอกเล่าจากนักดาราศาสตร์สมัครเล่นว่ามีสีเขียว-ฟ้า

หลังจากที่รอมาเป็นเดือนในที่สุดผมก็มีโอกาสได้ลองดูแอนทาเรสแบบจริงจัง อันที่จริงระยะแยกที่ 2.6” ไม่ได้ถือว่าเกิดความสามารถของกล้องดูดาวที่ใช้อยู่ แต่แอนทาเรสสว่างมา ที่กำลังขยาย 85 เท่า ก็มี airy disk แล้ว

ผมเพิ่มกำลังขยายขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง 256 เท่า แอนทาเรสเป็นสีขาวอมเหลือง แอรี่ดิสก์สามวงซ้อนกันเป็นสีแดง แต่เอียงไปฝั่งหนึ่งแสดงว่าตัวกล้องดูดาวมีปัญหาเรื่อง Alignment เล็กน้อย เมื่อดูให้ดีที่แอรี่ดิสก์วงในสุดมองเห็น แอนทาเรสบีครับ แต่โดนสีแดงของแอนทาเรสกลบหมด ดูสีไม่ออก

เรียกว่าดูค่อนข้างยากแต่ก็สามารถแยกทั้งคู่ออกมาได้ หามีโอกาสคงต้องลองกับกล้องดูดาวตัวอื่นอีกครั้ง


กลุ่มดาวแมงป่อง แผนที่จาก Skysafari





ข้อมูลทั่วไป 

Name: Antares
Catalog number: Alpha Scorpii, 
Type: Double Star
Constellation: Scorpius
Visual Magnitude: +1.07,  +5.40
Seperation: 2.6” at 277.5°
Distance: 550 ly 

Coordinates
R.A. 16h 30m 39.46s
Dec. -26° 28’ 32.41”

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...