Thursday 4 June 2020

Algieba : Gamma Leonid


ภาพสเก็ทช์และสีของแกมม่าลีโอนิสโดยผู้เขียน สีที่มองเห็น
ไม่เหมือนกับสีจริงที่ควรเป็นคือ สีเหลืองอมส้มทั้งสองดวง
แต่ก็มีบางคนที่เห็นเหมือนผู้เขียนแบบในภาพนี้


กลุ่มดาวลีโอหรือสิงโต กลุ่มดาวจักราศีประจำเดือนสิงหาคม มองเห็นได้ง่ายแม้จากในเมืองโดยเฉพาะดาวเรียงส่วนหัวของสิงโตที่เป็นรูปเคียวหรือเครื่องหมายคำถามกลับด้าน ปลายด้ามเคียวเป็นดาวสว่างที่สุดในกลุ่มชื่อว่าเรกูลัส และยังมีดาวสว่างอีกดวงตรงส่วนโค้งของเคียวชื่อว่า “อัลจีบ้า”

อัลจีบ้าดาวสว่างแมกนิจูด 2 ที่สว่างเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มดาวสิงโตจึงได้ชื่อตามระบบเบเยอร์ว่า “แกมม่าลีโอนิส” คำว่า”อัลจีบ้า” “ Algieba” มาจากภาษาอาราบิก “Al Jabhah” หมายถึงแผงคอสิงโตซึ่งก็เป็นตำแหน่งของดาวดวงนี้พอดี

ดาวที่เห็นด้วยตาเปล่าว่าเป็นดวงเดียวดวงนี้ แท้จริงเป็นระบบดาวคู่ที่สวยที่สุดคู่หนึ่งบนท้องฟ้า ไกลจากเราไปราว 130 ปีแสง อัลจีบ้า เอ มีค่าความสว่าง 2.28 แมกนิจูด สว่างกว่าดวงอาทิตย์ 180 เท่า ขนาดใหญ่กว่า 23 เท่า สเปคตรัม K1 ให้สีเหลืองอมส้ม ส่วนอัลจีบ้า บี มีค่าความสว่าง 3.51 แมกนิจูด สว่างกว่าดวงอาทิตย์ 50 เท่า ใหญ่ว่า 50 เท่า สเปคตรัม G7 สีเหลืองอมส้ม

จะเห็นได้ว่าทั้งคู่มีสี “เหลืองอมส้ม” ที่ใกล้เคียงกันมาก แต่เป็นเรื่องแปลกที่นักดาราศาสตร์ทั้งอาชีพและสมัครเล่นหลายคนมองเห็นเป็นสี “ส้มและเขียว” รวมถึงผมเองด้วย ต้องลองกันเองครับว่าคุณจะมองเห็นเป็นสีอะไร เมื่อดูจากโลกอัลจีบ้า เอ และ บี ห่างกันราว 4.7 ฟิลิปดา แต่ในความเป็นจริงทั้งคู้ห่างกันราว 170 AU หรือประมาณ 4 เท่าของระยะห่างจากโลกถึงพลูโต คาบวงโคจร 500 ปี 



ฝนดาวตกลีโอนิดส์ปี 1833
ภาพจากวิกิ รายละเอียดของภาพดูที่นี่


ผู้ที่พบว่าแกมม่าลีโอนิสเป็นระบบดาวคู่คือวิลเลี่ยม เฮอร์เชลล์ในปี 1782  นอกจากนยั้นนังมีอีกเรื่องที่น่าสนใจ ประมาณ 2 องศาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแกมม่าลีโอนิสเป็นจุดเรเดียนท์ของฝนดาวตกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดชุดหนึ่งคือ “ฝนดาวตกลีโอนิส” เป็นฝนดาวตกที่เกิดราวกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เกิดจากโลกผ่านเข้าไปในฝุ่นที่ดาวหาง “เทมเปิล-ทัตเทิล” (1866 I) ทิ้งเอาไว้ ซึ่งเราต้องรอจนกว่าดาวหางดวงนี้จะกลับมาอีกครั้งเพื่อจะได้เห็นฝนดาวตกในระดับ 1000 ดวงต่อชั่วโมงเหมือนในปี 2002

ในปี 2010 นักดาราศาสตร์พบดาวเตราะห์ที่มีขนาดอย่างน้อย 8.8 เท่าของดาวพฤหัส โคจรรอบ แกมม่าเอ ที่ระยะห่างใกล้เคียงกับวงโคจรโลกถึงดวงอาทิตย์หรือราว 1.0-1.4 AU อีกด้วย

คลิกภาพเพื่อขยาย



อ้างอิง 
Robert Burnham, Burnham’s Celestial Handbook 
SkySafari
http://stars.astro.illinois.edu/sow/algieba.html

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...