Wednesday, 15 January 2020

Messier 42 : The Great Nebula


ภาพสเก็ทช์กลุ่มดาวนายพรานโดยผู้เขียน

ในกลุ่มดาวนายพราน “บีเทลจูส” กำลังอยู่ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต แต่บริเวณที่เรียกกันว่า “ดาบ” หรือ “Sword” ใต้เข็มนายพราน กลับเป็นแหล่งของดาวเคราะห์เกิดใหม่ที่สว่างไสวที่สุดจุดหนึ่งบนท้องฟ้า

“A Single Misty Star” อาจแปลว่า “ดาวหมอก” เป็นคำอธิบายดาวดวงกลางของ “ดาบ” ดาวดวงนี้ดูฟุ้งแปลกกว่าดวงอื่น เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจว่ากาลิเลโอผู้เปิดศักราชดาราศาสตร์ยุคกล้องดูดาวก็ไม่ได้กล่าวถึงเนบิวล่าตัวนี้เลย

“The Great Nebula” หรือ “เนบิวล่าสว่างใหญ่” เนบิวล่าที่น่าจะรู้จักดีที่สุดในโลก การค้นพบจะให้เกียรติกับ Nicolas Peiresc ในปี 1611 และปี 1656 Cristian Huyghens เป็นคนแรกที่ให้ความสนใจกับใจกลางเนบิวล่าที่มีดาวสว่างหลายดวงเป็นพิเศษ ในปี 1769 ชาร์ล แมสซายเออร์ใส่หมายเลข 42 ให้วัตถุชิ้นนี้ในรายการชุดแรกของเขา


Sword of Orion เมื่อดูจากกล้องดูดาวที่กำลังขยายต่ำ
"ดาวหมอก" หรือ M42 คือจุดที่เป็นฝ้าฟุ้งกลางภาพ ภาพสเก็ทช์โดยผู้เขียน

หากใช้กล้องสองตาหรือกล้องดูดาวขนาดเล็กที่กำลังขยายต่ำส่องดู จะพบว่าบริเวณ “ดาวหมอก” ของนายพรานเต็มไปด้วยดาวน้อยใหญ่หลายสิบดวง และมีแสงสีขาวที่ดูเหมือนกลุ่มหมอกในป่ายามต้องแสงแดดยามเช้า มันดูฟุ้ง สว่างและจับรูปร่างได้ยาก


การดูเอ็ม 42 จะขึ้นกับสภาพท้องฟ้าและขนาดของกล้องดูดาว ภาพที่เห็นผ่านจากกล้องดูดาวขนาด 8นิ้วขึ้นไป หากฟ้าดีพอเราจะเห็นโครงสร้างและรายละเอียดเหมือนในภาพถ่าย เพียงแต่เป็นสีเดียวคือเทาอ่อนอมเขียวเล็กน้อย ผมเองเคยเห็นแบบนี้สองครั้งผ่านกล้องดูดาวแบบผสม 8 นิ้วที่ภูสวนทรายและแก่งกระจานเมื่อหลายปีก่อน หากฟ้ามีหมอกควันหรือแสงไฟรบกวนรายละเอียดก็จะลดทอนหายไปตามลำดับ


ภาพสเก็ทช์เอ็ม 42 จากกล้องดูดาว 8 นิ้วที่กำลังขยายต่ำโดยผู้เขียน
ยังพอมองเห็นว่าเนบิวล่าสว่าง มีขนาดใหญ่สว่งไปทั่วบริเวณแม้ฟ้าจะมีหมอกควันค่อนข้างหนา
โดยทั่วไปรูปร่างของเอ็ม 42 ที่มองเห็นผ่านกล้องดูดาว จะดูคล้ายปลาเทวดากำลังอ้าปาก หรือคล้ายนกกำลังบิน ส่วนที่สว่างที่สุดเรียกว่า “Huygenian” ตามชื่อคนที่ศึกษาบริเวณนี้คนแรก ภายในจะเห็นดาวสว่างสี่ดวงเรียงเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ดาวทั้งสี่ดวงรู้จักกันในชื่อ “Trapizium” เป็นดาวเกิดใหม่ที่ส่องแสง ปล่อยพลังงานกระตุ้นให้กลุ่มกาซเอ็ม 42 สว่างเรืองขึ้นมา

เหนือฮอยจีเนี่ยนขึ้นไปมีเงามืดที่แลดูเหมือนปากของปลา มักเรียกกันว่า “fish-mount” เนบูล่าฝั่งตะวันตกจะสว่างเรืองกว้างใหญ่คล้ายใบเรือได้รับชื่อว่า “Sail” ส่วนอีกฝั่งจะมีขอบโค้งด้านบนสว่างเด่นคล้ายดาบเรียกกันว่า “Sword” แนวเส้นโค้งของดาบหากฟ้าดีพอจะเห็นว่าเป็นเส้นโค้งวิ่งลงมาที่ดาวสว่างมัคนิจูด 3 “อิโอต้า โอไรออนนิส” แล้วโค้งไปบรรจบกับปีกฝั่งใบเรือเป็นวงกลม

ชื่อเรียกส่วนต่างๆของเอ็ม 42
แผนที่จาก Cart du Ceil


นอกจากนั้นเหนือ “ปากปลา” ยังมีเนบิวล่าอีกตัวหนึ่ง แมสซายเออร์ 43 หรือ Mairan’s Nebula เป็นเนบิวล่ารูปเครื่องหมายลูกน้ำกลับข้างที่มีดาวสว่างมัคนิจูด 7 ภายใน

John Herschel เขียนคำบรรยายโอไรออนเนบิวล่าได้น่าสนใจไว้ว่า

“I know not how to describe it better than by comparing it to a curdling liquid, or to breaking up of mackerel sky when the clouds of which it consists begin to assume a cirrus appearance..”

“ผมไม่สามารถหาคำบรรยายมาสู้กับการเปรียบเอ็ม 42กับของเหลวที่ถูกทำให้ข้นหนืด หรือท้องฟ้าที่เมฆปลาแมคเคอเรลกำลังแตกตัว โดยมีเมฆซีร์รัสมาร่วมในองค์ประกอบ...”


เมฆปลาแมคเคอเรลเป็นลักษณะเมฆที่เป็นลอนคลื่นคล้ายน้ำแข็งที่เกาะในช่องแช่แข็ง เมฆแบบนี้มีชื่อเป็นทางการว่า Cirrocumulus Undulatus ส่วนซีรัสเป็นเมฆระดับสูงลักษณะคล้ายขนนกบางเบา เบิร์นแฮมอ้างไว้ในหนังสือของเขาว่าเมฆแมคเคอเรลที่ว่าอยู่ทางเหนือของใจกลางที่สว่างของเอ็ม 42 ใครมีกล้องดูดาวตัวใหญ่ๆฟ้าดีๆน่าลุ้นว่าจะมองเห็นภาพที่ John Herschel บรรยายไว้หรือเปล่า


Mackerel sky จะคล้ายลายข้างลำตัวของปลา Mackerel, Cr: Wikipedia
ตัวอย่างเมฆซีร์รัสหลายแบบรวมกัน, Cr: Wikipedia

Name: The Great Orion Nebula
Catalog number: M42, M43
Type: Nebula
Constellation: Orion
Visual Magnitude: +4
Apparent Size: 85’ x 60’
Distance: 1400 ly

Coordinates :
R.A. 05h 36m 22.37s
Dec. +-5° 526’ 19.0”



อ้างอิง
บัญชา ธนบุญสมบัติ -ผู้ก่อตั้งชมรมคนรักมวลเมฆ คอลัมน์ Cloud Lover มติชนออนไลน์
https://www.matichon.co.th/columnists/news_782873

Robert Burnham, Burnham’s Celestial Handbook

SkySafari

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...