Tuesday, 9 July 2019

Messier107





กระจุกดาวทรงกลมในกลุ่มดาวออพอียูคัสหรือคนแบกงู ผู้ที่พบคือปิแอร์ เมอร์แชนด์ ผู้ช่วยของแมสซายเออร์ในปี 1782 มีความเป็นไปได้ว่าเป็นออบเจคที่ค้นพบเป็นตัวสุดท้ายในการจัดทำแมสซายเออร์แคตตาลอค แต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับการบรรจุเพิ่มเข้าไป

จนกระทั่งในปี 1947 เฮเลน ซอร์เยอร์ ฮอกส์ ได้เสนอให้เพิ่มเอ็ม105, เอ็ม106, เอ็ม107 ในแมสซายเออร์แคตตาลอค โดยอาศัยหลักฐานเป็นจดหมายของปิแอร์ เมอร์แชนท์ที่เธอค้นพบ

เอ็ม 107 สว่างแค่แมกนิจูดที่9 ทำให้ไม่เห็นด้วยตาเปล่า เหมือนเอ็ม13 หรือเอ็ม 5ที่อยู่ละแวกนั้น แต่น่าจะเห็นจากกล้องสองตาขนาด 10x50 คล้ายดาวจางหากฟ้าดี

ในกล้องดูดาวขนาด 8 นิ้ว ที่กำลังขยายต่ำ(56เท่า) เอ็ม107มองเห็นเป็นฝ้ากลมจาง ดาวในกระจุกจางเกินกว่าที่กล้องดูดาวขนาดนี้จะแยกออกมาเป็นเม็ดได้ อาจต้องใช้กล้องดูดาวที่มีขนาด 12 นิ้วขึ้นไปหากต้องการแยกดาวภายในกระจุกออกมาเป็นดวงให้ชัดเจน

เอ็ม107 ห่างจากดาว ซีต้า ออพอียูชิ (ζ Oph) หรือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 3 องศา อยู่ในฟิลด์ของกล้องเล็งพร้อมกันได้เลย


คลิกภาพเพื่อขยาย


ข้อมูลทั่วไป
Catalog number: NGC6171, Messier 107
Constellation: Ophiuchus
Visual Magnitude: +7.92
Apparent Size: 13’
Distance: 21 kly

Coordinates
R.A. 16h 33m 36.46s
Dec. -13° 05’ 33.2”

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...