Chales Messier 1730-1817 Cr: wikipedia |
จนกระทั่งคืนวันที่ 28 สิงหาคม 1758 แมสซายเออร์กวาดกล้องดูดาวไปเจอรอยฝ้าใกล้กับดาวซีต้า ทอรี (ζ Tauri)ในกลุ่มดาววัว เขาคิดว่าเจอดาวหางดวงใหม่ แต่แสงฟุ้งจางที่พบไม่ได้เคลื่อนที่เหมือนดาวหางทั่วไป
วัตถุปริศนาตัวนี้เลยได้รับการบันทึกลงในสมุดที่เรียกว่า “รายการเจ้าปัญหา” (Embarrassing Catalog) สิ่งที่แมสซายเออร์จดบันทึกชิ้นแรกนั้นคือ Messier 1 หรือเนบูลาปูซึ่งปัจจุบันทราบดีว่าเป็นกลุ่มก๊าซที่เหลือจากดาวระเบิด (supernava remnant)
ปี 1771 แมสซายเออร์เสนอรายการที่ไม่ใช่ดาวหางที่รวบรวมไว้ในชื่อ Chales Messier’s Catalog of Nebulae and Star Cluster ที่มีวัตถุจำนวน 45 ชิ้นแก่ Académie des sciences ในกรุงปารีส หลังจากนั้นก็ร่วมมือกับผู้ช่วยชื่อ ปิแอร์ มีแชนท์ (Pierre Méchain) เพิ่มวัตถุลงไปในรายชื่อนี้เรื่อยมา
ผ่านไปสิบปีในปี 1781 Chales Messier’s Catalog of Nebulae and Star Cluster มีวัตถุที่ไม่ใช่ดาวหางทั้งหมด 103 ชิ้น และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่เก่าแก่ที่สุดในโลก Connaisance des Temps for 1784
ภาพสเก็ทช์ M42 โดยแมสซายเออร์ Cr: http://www.messier.seds.org/xtra/history/m-cat71.html |
ร้อยสี่สิบปีต่อมามีการเสนอให้เพิ่มวัตถุเข้าไปใน Messier อีกสามครั้งคือ ในปี1921 เพิ่ม M104 โดย Camille Flammarion ในปี1947 Helen Sawyer Hogg เพิ่ม M105ถึงM107 ในปีเดียวกัน Owen Gingerish เสนอเพิ่ม M108 จนถึง M109 และครั้งสุดท้ายในปี1966 เพิ่ม M110 โดย Kenneth Glyn Jones
รายการทั้งหมดที่เพิ่มเติม เกิดจากการศึกษาบันทึกของแมสซายเออร์และมีแชนท์แล้วพบว่ายังมีวัตถุอื่นๆที่แมสซายเออร์และมีแชนท์บันทึกไว้ภายหลังการตีพิมพ์เมื่อปี 1784 ดังนั้นในปัจจุบันจึงเป็นที่ทราบและยอมรับกันว่า Messier Object Catalog มีวัตถุอยู่ในรายการทั้งหมด 110 ชิ้น
เหตุที่แมสซายเออร์แคตตาลอคได้รับความนิยม ก็เพราะมีตัวอย่างของออบเจคเกือบทุกชนิดบนท้องฟ้าในจำนวนที่พอเหมาะพอดี ออบเจคในรายการมีตั้งแต่ซากการระเบิดของดวงดาว เนบูล่า กาแลกซี่ กระจุกดาวเปิดและกระจุกดาวทรงกลม และทั้งหมดสามารถดูได้จากกล้องดูดาวระดับมือสมัครเล่นในปัจจุบันซึ่งคุณภาพดีกว่าในยุคแมสซายเออร์มาก
การที่สำรวจท้องฟ้าตามแมสซายเออร์จนครบทั้ง 110 ตัวเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินกว่าที่จะทำได้ และเชื่อหรือไม่ว่าเราสามารถดูได้จนครบทั้ง 110 ตัวในคืนเดียวตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินไปจนถึงรุ่งเช้าของอีกวันในเดือนมีนาคม กิจกรรมนี้เรียกว่า “แมสซายเออร์มาราธอน”
แต่ Messier Catalog ยังมีข้อผิดพลาดและข้อสงสัยในวัตถุบางชิ้น ตลอดเวลาที่ผ่านมานักดาราศาสตร์ได้พยายามค้นหาแก้ไขได้เกือบทั้งหมด จะขอเล่าต่อในตอนต่อไปครับ
Messier Marathon น่าลองนะ https://www.youtube.com/watch?v=lB8Yffe1Ezc |
อ้างอิง : messier.seds.org
No comments:
Post a Comment