การศึกษาใหม่ได้พบว่า “เกาะมหัศจรรย์”
บนไททันน่าจะเป็นชิ้นส่วนของสารอินทรีย์เยือกแข็งที่มีรูพรุน
ค้านกับงานก่อนหน้านี้ที่บอกว่าเป็นฟองก๊าซ หรือกระทั่งเกาะลวงตา
ชั้นบรรยากาศสีส้มขุ่นของไททันมีความหนาแน่นสูงกว่าชั้นบรรยากาศโลก
50% และอุดมไปด้วยมีเธนและมักพบโมเลกุลอินทรีย์อื่นๆ
ด้วย พื้นผิวของไททันปกคลุมด้วยสันทรายวัสดุสารอินทรีย์ และทะเลมีเธนและอีเธนเหลว
ถ้ายังแปลกไม่พอ ในภาพจากเรดาร์ยังพบจุดสว่างที่ย้ายตำแหน่งได้บนพื้นผิวทะเล
ซึ่งจุดสว่างอาจคงอยู่ตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงจนถึงหลายสัปดาห์หรือมากกว่านั้น โผล่มาแล้วก็หายไปในการสำรวจแต่ละครั้ง
นักวิทยาศาสตร์ได้พบ “เกาะมหัศจรรย์”
เหล่านี้ครั้งแรกในปี 2014 ด้วยปฏิบัติการคาสสินี-ไฮเกนส์
และตั้งแต่นั้นมาก็พยายามจะระบุให้ได้ว่าพวกมันคืออะไร
การศึกษาก่อนหน้านี้บอกว่าอาจจะเป็นเกาะล่องหนที่เกิดจากคลื่น
หรือกระทั่งเกาะจริงๆ ที่เป็นของแข็งลอยน้ำได้ หรือฟองของก๊าซไนโตรเจน
Xinting Yu นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และผู้เขียนนำการศึกษาใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่แผนกฟิสิกส์และดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทกซัส ซานอันโตนีโอ
สงสัยว่าถ้าพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างชั้นบรรยากาศไททัน, ทะเลสาบของเหลว
และวัสดุสารแข็งบนพื้นผิวเหล่านั้น ก็น่าจะเผยให้เห็นที่มาของเกาะปริศนาได้หรือไม่
ฉันอยากจะตรวจสอบว่าเกาะมหัศจรรย์นั้นแท้จริงแล้วเป็นสสารอินทรีย์ที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ
เหมือนกับหินภูเขาไฟ(pumice) บนโลกที่สามารถลอยน้ำได้ก่อนที่สุดท้ายจะจมลง
หรือไม่
ชั้นบรรยากาศส่วนบนของไททันนั้นหนาทึบด้วยสสารอินทรีย์ที่หลากหลาย
โมเลกุลอาจเกาะกัน, เยือกแข็ง และตกลงบนพื้นผิวดวงจันทร์
ซึ่งรวมถึงลงบนแม่น้ำและทะเลสาบมีเธนและอีเธนเหลวด้วย
โดยสร้างคลื่นที่สูงเพียงไม่กี่มิลลิเมตรเท่านั้น Yu และทีมของเธอสนใจในชะตากรรมของก้อนสสารอินทรีย์เหล่านี้ก่อนที่จะมาถึงทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนของไททันว่า
พวกมันจะจมหรือลอย
เพื่อค้นหาคำตอบ ก่อนอื่นทีมก็สืบสวนว่าสารอินทรีย์แข็งบนไททันจะละลายได้ในทะเลสาบมีเธนเหลวหรือไม่
เนื่องจากทะเลสาบเหล่านี้อิ่มตัวไปด้วยอนุภาคสารอินทรีย์
ทีมพบว่าของแข็งที่ตกลงมาไม่น่าจะละลายได้เมื่อมันกระทบกับของเหลว
สำหรับเราเพื่อที่จะได้เห็นเกาะมหัศจรรย์ พวกมันจะไม่ใช่แค่ลอยได้แค่หนึ่งวินาทีแล้วก็จมลงไป
Yu กล่าว
พวกมันจะต้องลอยอยู่นานพอดู แต่ไม่ได้ลอยอยู่ตลอดไปด้วย
ทะเลสาบและทะเลบนไททันนั้นมีมีเธนและอีเธนเป็นหลัก ซึ่งแม้จะอยู่ในสภาพอิ่มตัวสูงแต่สารประกอบทั้งสองก็มีความตึงผิวที่ต่ำ
ซึ่งทำให้ของแข็งยิ่งลอยตัวได้ยากขึ้น
แบบจำลองบอกว่าของแข็งเยือกแข็งเกือบทั้งหมดเองก็มีความหนาแน่นสูงมากและมีความตึงผิวที่ต่ำเกินกว่าจะสร้างเกาะมหัศจรรย์ของไททันได้
ยกเว้นแต่ว่าก้อนเหล่านั้นจะมีรูพรุนเหมือนกับชีสสวิส
ถ้าก้อนสสารเยือกแข็งนั้นมีขนาดใหญ่มากพอและมีอัตราส่วนรูและท่อแคบที่เหมาะสม
มีเธนเหลวก็อาจจะซึมเข้าไปช้าเพียงพอที่ก้อนเยือกแข็งจะลอยอ้อยอิ่งบนผิวน้ำได้
แบบจำลองพบว่า ก้อนแต่ละก้อนน่าจะมีขนาดเล็กเกินกว่าจะลอยอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง
แต่อาจเกาะกลุ่มกันมีขนาดใหญ่มากพอบนชายฝั่ง ชิ้นที่ใหญ่กว่าก็อาจจะแตกออกและลอยหายไป(calving)
เหมือนกับที่หิ้งน้ำแข็งแตกบนโลก
เมื่อรวมขนาดที่ใหญ่ขึ้นและรูพรุนที่มากพอ
ธารน้ำแข็งอินทรีย์เหล่านี้ก็อาจจะอธิบายปรากฏการณ์เกาะมหัศจรรย์ได้
ทีมยังอธิบายปริศนาอีกประการบนไททันว่าเพราะเหตุใด
แอ่งของเหลวจึงราบเรียบอย่างมากโดยมีคลื่นไม่สูงไปกว่าไม่กี่มิลลิเมตร
นั้นเป็นเพราะมีชั้นของแข็งเยือกแข็งบางๆ ที่ปกคลุมทะเลและทะเลสาบของไททัน
งานวิจัยของทีมเผยแพร่ในวารสาร Geophysical Research Letters วันที่
4 มกราคม
แหล่งข่าว phys.org
: Titan’s “magic
islands” are
likely to be honeycombed hydrocarbon icebergs, finds study
space.com : floating “magic islands” on Saturn’s moon Titan may be
honeycombed-shaped snow
iflscience.com : we may
finally know what those “magic
islands” are
on Saturn’s moon Titan
No comments:
Post a Comment