การค้นพบประชากรกาแลคซีกังหันสีแดงในเอกภพยุคต้น
กาแลคซีกังหันเป็นรายละเอียดที่น่าประทับใจที่สุดอย่างหนึ่งในเอกภพ
และเมื่อพบกาแลคซีกังหันในเอกภพอันไกลโพ้นก็จะมีข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกำเนิดและวิวัฒนาการของพวกมัน
อย่างไรก็ตาม
เราก็มีความเข้าใจที่จำกัดเกี่ยวกับกาแลคซีเหล่านี้เนื่องจากพวกมันอยู่ไกลเกินกว่าจะศึกษาในรายละเอียดได้
ในขณะที่เคยพบกาแลคซีเหล่านี้ในการสำรวจก่อนหน้านี้ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและสปิตเซอร์
แต่จากความละเอียดและ/หรือความไวที่มีจำกัด
ไม่ช่วยให้เราศึกษารูปร่างและคุณสมบัติของพวกมันในรายละเอียดได้ Yoshinobu
Fudamoto นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ
ในญี่ปุ่น ซึ่งวิจัยวิวัฒนาการของกาแลคซี อธิบาย ขณะนี้
ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ ได้ช่วยให้งานวิจัยก้าวไปอีกขั้น ในภาพแรกๆ
สุดจากเวบบ์ซึ่งเป็นกระจุกกาแลคซี SMACS J0723-7327 เวบบ์สามารถจับภาพในช่วงอินฟราเรดแสดงประชากรกาแลคซีกังหันสีแดง
ในความละเอียดที่ไม่น่าเชื่อและเผยให้เห็นสัณฐานของพวกมันในรายละเอียด
ในบทความล่าสุดที่เผยแพร่ใน Astrophysical
Journal Letters ทีมนักวิจัยซึ่งประกอบด้วย
Fudamoto, ศาสตราจารย์ Akio
K. Inoue และ ดร Yuma
Sugahara จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ
ญี่ปุ่น ได้เผยให้เห็นแง่มุมอย่างน่าประหลาดใจเกี่ยวกับกังหันสีแดงเหล่านั้น
ในบรรดากังหันสีแดงหลายแห่งที่ได้พบ
นักวิจัยมุ่งเป้าไปที่กังหันสีแดงจัดที่สุด 2 แห่งคือ RS13 และ RS14 ด้วยการวิเคราะห์แบบใช้
spectral energy distribution(SED) นักวิจัยตรวจสอบการกระจายพลังงานตลอดช่วงความยาวคลื่นที่กว้างที่มาจากกาแลคซีทั้งสอง
SED เผยว่ากังหันสีแดงอยู่ในเอกภพยุคต้นจากยุคที่เรียกว่า
cosmic noon(ราว 8 ถึง 10 พันล้านปีก่อน)
หลังจากบิ๊กแบง และ “อรุณรุ่งแห่งเอกภพ” ที่น่าสนใจคือ
ทั้งสองแห่งยังเป็นกาแลคซีกังหันที่พบไกลที่สุดเท่าที่เคยเจอด้วย
เชื่อว่ากาแลคซีกังหันอย่างทางช้างเผือกเป็นกาแลคซีชนิดที่พบได้ทั่วไปแบบหนึ่งในเอกภพ
กาแลคซีกังหันมักจะเต็มไปด้วยการก่อตัวดาวใหมม่ๆ อย่างกระตือรือร้น
ทำให้พวกมันมีสีออกฟ้า
เนื่องจากดาวฤกษ์ร้อนอายุน้อยจะสาดแสงสว่างในแสงอุลตราไวโอเลต
แต่กาแลคซีกังหันสีแดงกลับหาได้ยาก มีอยู่เพียง 2% ของกาแลคซีทั้งหมดในเอกภพท้องถิ่น การค้นพบกังหันสีแดงในเอกภพยุคต้นด้วยกล้องเวบบ์
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพียงส่วนน้อยนิดในอวกาศ
ได้บอกว่ากังหันลักษณะนี้น่าจะพบได้ในจำนวนที่สูงในเอกภพยุคต้น
นักวิจัยยังพบว่า RS14 นั้นเป็นกาแลคซีกังหันที่ไร้กิจกรรม(passive;
ไม่ก่อตัวดาวแล้ว) ผิดจากความคาดหวังว่ากาแลคซีในเอกภพยุคต้นน่าจะก่อตัวดาวอย่างคึกคัก
การตรวจพบกังหันไร้กิจกรรมในภาพจากเวบบ์ซึ่งมีพื้นที่จำกัดจึงสร้างความประหลาดใจอย่างยิ่ง
เมื่อมันได้บอกว่ากาแลคซีที่ไม่ก่อตัวดาวก็น่าจะมีอยู่มากเช่นกันในเอกภพยุคต้น
แสงจาก RS14 มาจากเมื่อ 11
พันล้านปีก่อน และเนื่องจากการขยายตัวของเอกภพ
ขณะนี้ กาแลคซีอยู่ห่างจากเราราว 19 พันล้านปีแสงแล้วในปัจจุบัน
โดยรวมแล้ว
การค้นพบในการศึกษานี้ได้ขยับขยายความรู้เกี่ยวกับกาแลคซีกังหันสีแดง
และเอกภพโดยรวม
การศึกษาของเราแสดงเป็นครั้งแรกว่ากาแลคซีกังหันที่ไร้กิจกรรมน่าจะพบได้มากมายในเอกภพยุคต้น
ในขณะที่รายงานนี้เป็นการศึกษานำร่องเกี่ยวกับกาแลคซีกังหันในเอกภพยุคต้น
แต่การยืนยันและขยายความจากการศึกษานี้น่าจะส่งอิทธิพลต่อความเข้าใจการก่อตัวและวิวัฒนาการของสัณฐานวิทยากาแลคซีได้
Fudamoto กล่าวสรุป
แหล่งข่าว phys.org
: discovering a rare red spiral galaxy population from the early universe with the
James Webb Space Telescope
space.com : James Webb
Space Telescope spots rare red spiral galaxies in the early universe
iflscience.com : JWST
finds the most distant red spiral galaxies to date