Thursday 21 May 2020

Messier 106





เวลาเราดูกาแลกซี่ผ่านกล้องดูดาว ส่วนมากจะมีลักษณะเป็นฝ้ารีหรือกลม บางตัวมีใจกลางที่สว่างกว่าด้านนอก มีไม่กี่ตัวที่มองเห็นลักษณะโครงสร้างแปลกๆของกาแลกซี่ได้ หนึ่งในนั้นคือเอ็ม 106 กาแลกซี่มีขนาดจริงใกล้เคียงกับแอนโดรเมด้าแต่ไกลว่า 10 เท่า

ดาราจักรตัวนี้ค้นพบโดยเมอร์แชนท์ผู้ช่วยของแมสซายเออร์เมื่อปี 1947 แต่เพิ่งจะได้รับการเพิ่มเข้าไปในแมสซายเออร์แคตตาลอคโดย เฮเลน ฮอกก์ เมื่อปี 1947 นี่เอง

เอ็ม106 อยู่ในกลุ่มดาวสุนัขล่าเนื้อ ครึ่งทางระหว่างดาวที่เป็นมุมของก้นกระบวยหรือแกมม่า (γ) เออร์ซ่าเมเจอริสกับเบต้า (β) คานุม เวอแนตติโครุมพอดี ดาว γ UMa สว่างมองเห็นได้แม้จากชานเมือง จะเริ่มฮอบจากด้านนี้ก็ได้หากมองไม่เห็น β CVn

ภาพที่เห็นจากกล้องสะท้อนแสง 8 นิ้วในคืนที่ฟ้าขุ่น ยังพอมองเห็นที่กำลังขยาย 56 เท่าด้วยการมองเหลือบแต่ก็จางและดูยาก ภาพที่พอจับได้ดูแปลกกว่าดาราจักรตัวอื่น มีใจกลางที่หนาและสว่างมีแขนออกไปสองข้างทางทิศเหนือและใต้ การวางตัวของแขนทั้งสองเยี้องกันทำให้ดูเหมือนตัวอักษร S 

ภาพที่เห็นทำให้เอ็ม106 เป็นดาราจักรที่ดูแปลกตาและน่าสนใจมากทีเดียว ใครมีกล้องดูดาวไม่ควรข้าม แต่ต้องอาศัยฟ้าที่ดีสักหน่อยจึงจะดึงรายละเอียดออกมาได้


คลิกภาพเพื่อขยาย



ข้อมูลทั่วไป

Catalog number: Messier 106
Type: Spiral Galaxy
Constellation: Canes Venatici
Visual Magnitude: +8.43
Apparent Size: 17’x7.2’
Distance: 25 Mly


Coordinates
R.A. 12h 19m 53.35s
Dec. +47° 11’ 55.7”


No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...