Thursday, 13 June 2019

NGC5139 : Omega Centauri



ภาพสเก็ทช์จากกล้องดูดาวขนาดเล็กที่กำลังขยายต่ำมองเห็นเป็นฝ้ากลม
ภาพจากกล้องสองตาก็คล้ายกันแต่จะเล็กและจางกว่า

โอเมก้าเซ็นทอรี่ (ω Centauri) เป็นกระจุกดาวที่ใหญ่และสว่างที่สุดบนท้องฟ้า อยู่ในกลุ่มดาว Centaurus หรือคนครึ่งม้า สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในที่ไม่มีแสงรบกวนเป็นฝ้ากลมจางๆขนาดเล็กคล้ายดาว(ω Centauri)

หากมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สามารถใช้กล้องสองตาเป็นตัวช่วยได้ และถ้าไม่มีแสงรบกวนและฟ้าดีพอ ด้วยกล้องสองตาเราจะเห็นโอเมก้าเซ็นทอรี่มีขนาดราวดวงจันทร์เต็มดวง

เมื่อใช้กล้องดูดาวขนาด 4 นิ้วจากชานเมือง ที่กำลังขยายต่ำโอเมก้าเซ็นทอรี่มองเห็นเป็นฝ้ากลมใจกลางสว่าง รายละเอียดของดาวในตัวกระจุกจะเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อเพิ่มกำลังขยาย และขึ้นกับท้องฟ้าว่ามีหมอกควันแค่ไหน หากใสพอจะเริ่มมองเห็นเม็ดดาวในกระจุกได้ที่กำลังขยายสูงราว 100 เท่า


แต่หากใช้กล้องดูดาวขนาดใหญ่ขึ้นเช่น 8 นิ้ว ที่กำลังขยายสูงราว100เท่าขึ้นไป จะเห็นดาวในกระจุกเกาะกลุ่มรวมตัวกันหนาแน่นเป็นจำนวนมาก มีดวงที่สว่างน้อยกว่ามากกว่าเต็มไปหมดจนยากจะจับรูปร่างได้

รอบนอกมีแสงฟุ้งกระจายออกมาคล้ายควันลอยขึ้นไป เห็นชัดว่าโอเมก้าเซ็นทอรี่มีใจกลางที่โย้มาทางทิศเหนือ ควันที่เห็นมันคือพื้นที่ของดาวที่รวมตัวกันแต่จางเกินกว่าที่เราจะเห็นได้ด้วยกล้องดูดาวตัวนี้นั่นเอง สรุปเลยว่าเป็นภาพที่น่าดูยิ่ง

ภาพสเก็ทช์จากสิ่งที่เห็นจากกล้องสะท้อนแสง 8" รายละเอียดมากกว่า
ดาวจแยกเป็นเม็ดชัดเจนแม้ท้องฟ้ายังคงมีหมอกควันบัง

โอเมก้าเซ็นทอรี่ถูกระบุว่าเป็นดาวดวงหนึ่ง มีบันทึกไว้ตั้งแต่สมัยปโตเลมี (200ปีก่อน ค.ศ.) Edmond Halley เป็นคนแรกที่บอกว่าไม่ใช่ดาวในปี 1677 ว่า "luminous spot or patch in Centaurus” คนที่ระบุว่าเป็นกระจุกดาวทรงกลมก็คือ John Herschel ในปี 1830

หัวค่ำเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เป็นช่วงที่กลุ่มดาวเซ็นทอรัส ขึ้นสูงสุดทางทิศใต้แต่ก็เป็นช่วงที่เป็นหน้าฝนสำหรับประเทศไทย ดังนั้นหากมีจังหะที่ฟ้าเปิดทางทิศใต้เราต้องรีบฉวยโอกาสทันที

วิธีการฮอบไม่ยาก เริ่มจากมองหากลุ่มดาวเซ็นทอรัสทางทิศใต้ โอเมก้าเซ็นทอรี่จะอยู่ประมาณหนึ่งในสามบนหลังม้าหรือเส้นที่ลากจากดาวสว่างชื่ออัลแนร์ (Alnair)กับดาวมูนอิฟแอน (Muhlifain) หรือห่างจาก ดาวอลันแนร์ 7 องศา


คลิกภาพเพื่อขยาย


ข้อมูลทั่วไป
Name: Omega Centauri
Catalog number: NGC 5139, C 80
Constellation: Centaurus
Visual Magnitude: +3.68
Apparent Size: 10.0’
Distance: 17 ly

CoordinateR.A. 13h 27m 49.04s
Dec. -47° 33’ 58.0”

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...