ภาพยูเรนัสและเนปจูน โดยกล้องเวบบ์
ดาวพฤหัสฯ
และดาวเสาร์ก็ต้องถอยไปถ้าพูดถึงแง่หมกเม็ดดวงจันทร์ไว้
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะส่วนนอกก็แอบเลี้ยงดวงจันทร์ลับๆ ไว้
ด้วยการใช้กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน
นักดาราศาสตร์ได้พบดวงจันทร์ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน 3 ดวงในอวกาศรอบๆ ยูเรนัสและเนปจูน
โดยดวงหนึ่งโคจรรอบยูเรนัส และอีกสองโคจรรอบเนปจูน
ทำให้จำนวนดวงจันทร์รวมอย่างเป็นทางการของยูเรนัสอยู่ที่ 28 ดวง และเนปจูนที่ 16 ดวง
เมื่อสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ(IAU)
โดยศูนย์ดาวเคราห์ย่อย(Minor
Planet Center) ยืนยันดวงจันทร์เหล่านั้นก็จะได้ชื่อตามวิถีนิยมของดาวเคราะห์ทั้งสองดวง
กล่าวคือ ดวงจันทร์ใหม่ของยูเรนัส จะได้ชื่อตามงานของวิลเลียม เชคสเปียร์
ในขณะที่ดวงจันทร์ของเนปจูนจะได้ชื่อตามเเนเรอิด(Nereids) เหล่าธิดาของเทพเจ้าเนเรียสแห่งท้องทะเล
จากปกรณัมกรีก
Scott Sheppard นักดาราศาสตร์จากสถาบันคาร์เนกี้เพื่อวิทยาศาสตร์
กล่าวว่า
ดวงจันทร์ที่เพิ่งพบใหม่สามดวงเป็นดวงที่สลัวที่สุดเท่าที่เคยพบรอบดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์ทั้งสองโดยใช้กล้องจากภาคพื้นดิน
ต้องใช้วิธีการแต่งภาพแบบพิเศษเพื่อเผยให้เห็นวัตถุที่สลัวเช่นนั้นได้
ดวงจันทร์ใหม่ไม่ได้เป็นการค้นพบที่ยากเย็นสำหรับดาราศาสตร์สมัยใหม่
เมื่อเทคโนโลจีและเทคนิคในการศึกษาห้วงอวกาศ เจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ
เช่นเดียวกับความสามารถของเราในการค้นหาวัตถุที่มีขนาดเล็กและมืด ซึ่งก่อนหน้านี้เคยอยู่ไกลเกินเอื้อมสำหรับเรา
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ดาวพฤหัสฯ และดาวเสาร์ แข่งประชันจำนวนดวงจันทร์กัน
ในขณะที่เนปจูนและยูเรนัสสู้ไม่ได้เลย ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์ทั้งสองอยู่ไกลจากโลก
ซึ่งทำให้ยากที่จะเดินทางไปเยือนและยิ่งยากมากขึ้นที่จะมองเห็นด้วยกล้องโทรทรรศน์
ซึ่งหมายความว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับพวกมันมีค่อนข้างจำกัดมากกว่าพิภพอีก 5
ดวงที่อยู่ใกล้โลกมากกว่า
ด้านดีก็ยังมีอยู่คือ
ก็มีโอกาสที่จะมีดวงจันทร์อีกมากอยู่ข้างนอกนั่นรอคอยการค้นพบ
อย่างเช่นที่ประจักษ์ชัดจากดวงจันทร์ที่เพิ่งค้นพบใหม่สามดวงนี้
ทั้งสามดวงมีวงโคจรที่กว้าง, รี และเอียง ซึ่งทำให้สังเกตเห็นพวกมันได้ยากขึ้น
วงโคจรเหล่านี้สอดคล้องกับกำเนิดจากการยึดจับไว้ โดยแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์
และทำให้อยู่ในเดินทางรีประหลาดรอบดาวเคราะห์
ดวงจันทร์ใหม่ของยูเรนัส
ถูกพบครั้งแรกในการสำรวจโดย Sheppard โดยใช้กล้องโทรทรรศน์มาเจลลันในวันที่
4 พฤศจิกายน 2023
และได้รับการยืนยันเมื่อพบมันย้อนกลับไปได้ถึงปี
2021 มีชื่อแบบ ว่า S/2023
U1 และเป็นดวงจันทร์ยูเรนัสดวงใหม่ที่พบในช่วงกว่ายี่สิบปี
มันมีความกว้างราว 8 กิโลเมตร
ซึ่งทำให้มันเป็นดวงจันทร์ยูเรนัสที่มีขนาดเล็กที่สุด
และเป็นหนึ่งในดวงจันทร์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ มีคาบการโคจร 680 วัน
ดวงจันทร์ใหม่ของเนปจูนสองดวง
ดวงที่สว่างกว่ามีชื่อว่า S/2002 N5 ถูกพบครั้งแรกในการสำรวจจากกล้องมาเจลลันในเดือนกันยายน
2021 และพบอีกครั้งในเดือนตุลาคม
และมีการสำรวจติดตามผลในปี 2022 และ 2023
Sheppard กล่าวว่า
เมื่อตรวจสอบวงโคจรของ S/2002 N5 โดยใช้การสำรวจปี
2021, 2022 และ 2023
ก็ตามรอยไปได้ถึงวัตถุที่เคยพบใกล้เนปจูนในปี
2003 แต่สูญหายไปก่อนที่จะสามารถยืนยันได้ว่าโคจรรอบดาวเคราะห์นี้
มันมีความกว้าง 23 กิโลเมตร
และมีคาบการโคจรราว 9 ปี
และสุดท้าย
ดวงจันทร์เนปจูนใหม่ที่เล็กกว่าและสลัวกว่า ซึ่งถูกพบในปี 2021 โดยใช้กล้องซูบารุ มีชื่อว่า S/2021 N1 มีความกว้าง 14 กิโลเมตร และวงโคจร 27 ปี เป็นคาบการโคจรของดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ใดๆ
ที่ยาวนานที่สุดเท่าที่เคยพบมา และยังสลัวอย่างสุดขั้ว เพื่อทำการสำรวจต่อ
ทีมต้องคำนวณวงโคจรของมัน และใช้การสำรวจเพิ่มเติมด้วยกล้องโทรทรรศน์ใหญ่มาก(VLT)
และกล้องเจมิไนเหนือ
ภาพที่ค้นพบดวงจันทร์ใหม่ของยูเรนัส S/2023 U1 โดยใช้กล้องโทรทรรศน์มาเจลลัน ยูเรนัสหลุดจากพื้นที่การมองทางซ้ายบน ตามที่เห็นเป็นแสงที่กระเจิงเพิ่มขึ้น S/2023 U1 เป็นจุดแสงสลัวที่กลางภาพ เทรลมาจากดาวที่พื้นหลังเมื่อกล้องตามรอยการเคลื่อนที่ของยูเรนัสตลอดสามชั่วโมงที่เก็บภาพ
ดวงจันทร์ที่เพิ่งพบใหม่บอกว่ายูเรนัสและเนปจูนมีประชากรดวงจันทร์วงนอกที่มีรูปแบบคล้ายกับดวงจันทร์ของดาวเสาร์
และดาวพฤหัส นี่บอกว่าวิธีการได้มาซึ่งดวงจันทร์เหล่านั้นเกิดขึ้นคล้ายๆ
กันหมดในพิภพขนาดยักษ์ในระบบสุริยะ กระทั่งยูเรนัสซึ่งเอียงตะแคงข้าง
ก็มีประชากรดวงจันทร์คล้ายกับดาวเคราะห์ยักษ์อื่นๆ รอบดวงอาทิตย์ Sheppard กล่าว และเนปจูน ซึ่งน่าจะจับไทรตอน(Triton)
จากแถบไคเปอร์(Kuiper Belt) ไว้ ก็เป็นวัตถุน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่าพลูโต
เป็นเหตุการณ์ที่รบกวนระบบดวงจันทร์ของมัน ก็มีดวงจันทร์วงนอกที่ดูคล้ายกับเพื่อนบ้าน
การยึดจับอาจจะเป็นก้าวแรก
แต่ดวงจันทร์ใหม่ถูกจับอยู่ในกลุ่มดวงจันทร์ที่มีวงโคจรใกล้เคียงกัน S/2023
U1 จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ คาลิบัน(Caliban) และสเตฟาโน(Stephano) ส่วน S/2002 N5 อยู่กับ เซา(Sao) และ เลามีเดีย(Laomedeia) และวงโคจรของ S/2021 N1 ก็สอดคล้องกับ ซามาธี(Psamathe) และเนสโซ(Neso) วงโคจรของแต่ละดวงไม่ได้เหมือนกันเป๊ะ
แต่มีความคล้ายคลึงที่บอกว่าดวงจันทร์แต่ละดวงในกลุ่มน่าจะเริ่มจากดวงจันทร์หนึ่งเดียวขนาดใหญ่กว่าที่ถูกดาวเคราะห์จับไว้ก่อนที่จะแตกออก
โดยชิ้นส่วนแต่ละชิ้นก็หาเส้นทางของพวกมันเองได้ในที่สุด
ถ้าเป็นเช่นนี้
ก็น่าจะมีดวงจันทร์ขนาดเล็กกว่าอีกจำนวนมากที่เรายังไม่พบในแต่ละกลุ่มเหล่านี้
การค้นพบเพิ่มเติมน่าจะต้องเป็นเป้าหมายหนึ่งในหลายๆ
ข้อที่ควรจะส่งยานไประบบสุริยะส่วนนอก
นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์สงสัยว่าพื้นที่นี้จะเก็บงำกุญแจสู่ความเข้าใจว่าระบบสุริยะก่อตัวได้อย่างไร
และวิวัฒนาการช่วงต้นเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้ การสำรวจประจำทศวรรษโดยมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติจึงให้ความสำคัญอย่างมากกับการส่งปฏิบัติการหลักในช่วงกลางทศวรรษ
2030 ที่เรียกว่า Uranus
Orbiter and Probe กระทั่งบางคนก็คิดว่าน่าจะส่งปฏิบัติการไปเนปจูนด้วย
แหล่งข่าว sciencealert.com
: astronomers detect hidden moons orbiting Neptune and Uranus
skyandtelescope.com :
astronomers find new moons of Uranus and Neptune
livescience.com : 3 new
moons discovered around Uranus and Neptune will be named after Shakespeare
characters and Greek goddesses
phys.org : Subaru
telescope discovers the faintest moon around giant icy planets
No comments:
Post a Comment