ภาพจากศิลปินแสดงดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่งที่กำลังโคจรรอบดาวแคระขาวดวงหนึ่ง
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ได้พิสูจน์ตัวมันเองแล้วโดยย้อนเวลาไปถ่ายรูปวัตถุที่อยู่ห่างไกลมากๆ
แต่การค้นพบครั้งใหม่อาจจะดูเหมือนกล้องแห่งนี้ทำหน้าที่เหมือนหมอดู
มองเห็นอนาคตของระบบสุริยะของเรา
กล้องเวบบ์ได้สร้างผลงาน
เมื่อมันสำรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบ 2 ดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์ที่ตายแล้วที่เรียกว่า
ดาวแคระขาว 2 ดวง
ไม่เพียงแต่ดาวเคราะห์จะดูคล้ายกับดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ พฤหัสฯ
และดาวเสาร์ในระบบสุริยะของเราอย่างมาก
แต่ดาวแคระขาวก็ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของชะตากรรมในอนาคตของดวงอาทิตย์
เมื่อดวงอาทิตย์จะแปรสภาพกลายเป็นดาวแคระขาว
การเปลี่ยนแปลงน่าจะทำลายดาวเคราะห์ในระบบสุริยะส่วนใน ยาวไปจนถึงดาวพฤหัสฯ
มีการค้นพบดาวเคราะห์รอบดาวแคระขาวเพียงไม่กี่ดวงเท่านั้น
สิ่งที่พิเศษสุดจากว่าที่ดาวเคราะห์นอกระบบทั้งสองดวงก็คือ
พวกมันคล้ายกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะส่วนนอกในแง่อุณหภูมิ, อายุ และระยะวงโคจร
มากกว่าดาวเคราะห์ใดๆ ที่เคยพบมา Susan Mullaly ผู้เขียนนำงานวิจัยซึ่งยังไม่ผ่านพิชญพิจารณ์
นักดาราศาสตร์ที่สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ กล่าว นี่ให้โอกาสครั้งแรกแก่เราที่จะได้เห็นว่าระบบดาวเคราะห์จะมีสภาพอย่างไรหลังจากดาวฤกษ์แม่ของพวกมันได้ตายลง
ว่าที่ดาวเคราะห์ถูกสำรวจพบโดยตรงโดยเครื่องมืออินฟราเรดกลาง(MIRI)
ของเวบบ์
เพื่อพวกมันโคจรรอบดาวแคระขาว WD 1202-232 และ WD
2105-82 ซึ่งอยู่ไกลจากโลก
34 และ 53 ปีแสง ตามลำดับ ว่าที่ดวงหนึ่งอยู่ในระยะทางเทียบเท่ากับ
11.5 เท่าระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก(วงโคจรดาวเสาร์
9.5 เท่า)
ส่วนว่าที่อีกดวงอยู่ไกลกว่า ที่ระยะทางราว 34.5 เท่า(วงโคจรเนปจูน 30 เท่า)
ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดเกี่ยวกับมวลของดาวเคราะห์ แต่ทีม Mullaly ประเมินว่าถ้าดาวเคราะห์มีอายุเก่าแก่พอๆ
กับอดีตดาวฤกษ์แม่ มันก็จะมีมวลระหว่าง 1 ถึง 7
เท่าดาวพฤหัสฯ
เมื่อดวงอาทิตย์หมดเชื้อเพลิงสำหรับปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นที่เกิดขึ้นภายในแกนกลางดาว
ในอีกราว 5 พันล้านปีข้างหน้า
มันจะพองตัวกลายเป็นดาวยักษ์แดง อย่างไรก็ตาม
นิวเคลียร์ฟิวชั่นจะยังคงเกิดขึ้นในชั้นส่วนนอกออกมา ซึ่งชั้นส่วนนอกๆ
เหล่านนั้นอาจจะขยายมาได้ไกลถึงวงโคจรดาวอังคาร กลืนดาวพุธ, ศุกร์ และโลก
และอาจจะรวมถึงดาวเคราะห์แดงด้วย สุดท้าย ชั้นส่วนนอกๆ เหล่านี้จะเย็นตัวลง
เหลือเป็นแกนกลางดาวที่กำลังมอดดับซึ่งเรียกว่า ดาวแคระขาว
ล้อมรอบด้วยกลุ่มก๊าซที่ดาวผลักออกมา ซึ่งเรียกว่า เนบิวลาดาวเคราะห์
อย่างไรก็ตาม
ว่าที่ดาวเคราะห์เหล่านี้บอกใบ้ถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับดาวเคราะห์ที่อยู่เลยดาวอังคารคือ
ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ ดาวพฤหัสและดาวเสาร์ เมื่อดวงอาทิตย์ตายลง
คาดว่าดวงอาทิตย์ของเราจะกลายเป็นแคระขาวในอีก 5 พันล้านปี Mullaly กล่าว
เราคาดว่าดาวเคราะห์จะขยับออกไปหลังจากที่ดาวตายแล้ว ดังนั้น ถ้าคุณย้อนเวลากลับไป
ก็คาดว่าพวกมันน่าจะมีระยะวงโคจรใกล้เคียงกับดาวพฤหัสฯ และดาวเสาร์
ถ้าเราสามารถยืนยันดาวเคราะห์เหล่านี้ได้
มันก็จะให้หลักฐานโดยตรงว่าดาวเคราะห์อย่างดาวพฤหัสฯ
และดาวเสาร์สามารถอยู่รอดจากการตายของดาวฤกษ์แม่ได้ ยิ่งกว่านั้น
ดาวแคระขาวในการค้นพบนี้ ยังปนเปื้อนด้วยธาตุที่หนักกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียม
ที่นักดาราศาสตร์เรียกว่า โลหะ(metal) นี่อาจบอกใบ้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับวัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสฯ
หลังจากดวงอาทิตย์ตายลง
เราสงสัยว่าดาวเคราะห์ยักษ์เป็นตัวการที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนโลหะโดยผลักดาวหางและดาวเคราะห์
ลงสู่พื้นผิวดาวแคระขาว Mullaly อธิบาย
การมีอยู่ของดาวเคราะห์เหล่านี้ยิ่งเน้นความเชื่อมโยงระหว่างการปนเปื้อนโลหะกับดาวเคราะห์
มีดาวแคระขาวราว 25 ถึง 50%
ที่แสดงการปนเปื้อนลักษณะนี้
นี่หมายความว่าดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์พบได้ทั่วไปรอบดาวแคระขาว ด้วยเหตุนี้
ดาวเคราะห์น้อยใดๆ ที่อยู่รอดจากการตายของดวงอาทิตย์
ก็อาจจะเล่นงานซ้ำโดยดาวพฤหัสฯ และดาวเสาร์
การค้นพบคู่นี้จึงน่าประทับใจเมื่อมันจะทำนายอนาคตของระบบดาวเคราะห์ของเรา มันยังเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่พบได้ยากด้วย
นับตั้งแต่การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกในช่วงกลางทศวรรษ 1990 นักดาราศาสตร์ได้ยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์ราว 5500
ดวงจนถึงตอนนี้ และมีเพียงราว 50
ดวงเท่านั้นที่พบโดยการถ่ายภาพโดยตรง(direct
imaging) นั่นเป็นเพราะแสงใดๆ
ที่มาจากดาวเคราะห์ที่ห่างไกลอย่างนั้น มักจะถูกกลบไว้โดยแสงจ้าจากดาวฤกษ์แม่เอง
ทำให้การพบดาวเคราะห์นอกระบบโดยตรงสักดวงก็เหมือนกับการมองหาหิ่งห้อยในแสงตะเกียบจากประภาคาร
ด้วยเหตุนี้
จึงมักตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบโดยผลจากที่ดาวเคราะห์มีต่อแสงของดาวฤกษ์แม่
ทั้งทำให้แสงหรี่ลงเมื่อดาวเคราะห์ผ่านหน้า(transit) หรือจากการเคลื่อนที่ส่ายของดาวฤกษ์ที่เกิดขึ้นจากดาวเคราะห์ส่งแรงโน้มถ่วงกระตุกมันไว้
Mullaly กล่าวว่า
เราถ่ายภาพดาวเคราะห์ทั้งสองได้โดยตรง
ซึ่งหมายความว่าเราถ่ายภาพพวกมันและกำลังมองเห็นแสงที่ดาวเคราะห์ปล่อยออกมา
ดาวเคราะห์นอกระบบเกือบทั้งหมดที่ถูกพบโดยใช้วิธีการผ่านหน้า
หรือการตรวจสอบการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์แม่
วิธีการโดยอ้อมเหล่านี้มักจะเหมาะกับดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์
แต่การถ่ายภาพโดยตรงนั้นใช้ค้นหาดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลจากดาวฤกษ์ได้ดีกว่า ในวงโคจรที่กว้างกว่า
การพบดาวเคราะห์โดยตรงด้วยเวบบ์ จึงเปิดความเป็นไปได้ที่จะศึกษาพิภพเหล่านี้ต่อๆ
ไป
ขณะนี้
นักวิทยาศาสตร์เริ่มศึกษารายละเอียดอย่าง องค์ประกอบในชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์
และการตรวจสอบมวลและอุณหภูมิของพวกมันโดยตรง Mullaly กล่าวเสริมว่ายังมีจุดที่ไม่คาดคิดด้วย
ถ้าวัตถุเหล่านี้เป็นดาวเคราะห์
ก็น่าประหลาดใจที่พวกมันไม่ได้มีสีแดงในช่วงอินฟราเรดกลางอย่างที่เราเคยคาดไว้
ปริมาณแสงที่เวบบ์รวบรวมได้ที่ 5 และ 7
ไมครอนนั้น
สว่างกว่าที่เราคาดไว้จากว่าที่ดาวเคราะห์ทั้งสองจากอายุของพวกมัน
และความสว่างของพวกมันที่ 15 ไมครอน
นี่อาจจะท้าทายความเข้าใจของเราเกี่ยวกับฟิสิกส์และเคมีของชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์นอกระบบ
หรือบางที
มันอาจจะหมายถึงว่ามีแหล่งแสงอื่นอีก อย่างดวงจันทร์ที่ร้อนขึ้น
ซึ่งโคจรอยู่รอบดาวเคราะห์ ทีมยังต้องสำรวจติดตามผลเพื่อระบุธรรมชาติของวัตถุโดยการตรวจสอบการเคลื่อนที่เฉพาะ(proper
motion) งานวิจัยของทีมเผยแพร่ออนไลน์บน
arXiv และจะเผยแพร่ใน
Astrophysical Journal Letters
แหล่งข่าว space.com
: James Webb Space Telescope makes rare detection of 2 exoplanets orbiting dead
stars
sciencealert.com :
JWST imaged two apparent alien worlds still circling the bodies of their dead
stars
universetoday.com : Webb
directly images two planets orbiting white dwarfs
No comments:
Post a Comment