ภาพตัดปะ(collage) แสดงเนบิวลาดาวเคราะห์ที่รู้จักกันดี 22 แห่ง
การเรียงตัวของ “วิญญาณ” ดาวจากดาวที่ตายแล้ว
อย่างเป็นระเบียบในใจกลางทางช้างเผือก และสุดท้าย
นักวิทยาศาสตร์ก็ทราบว่าเป็นเพราะอะไร
ซากดาวเหล่านี้อยู่ในรูปของเนบิวลาดาวเคราะห์(planetary nebula) ซึ่งเป็นกลุ่มเมฆก๊าซที่ถูกขับออกจากดาวที่กำลังจะตาย
ซากเหล่านี้อาจจะกลม หรือบางทีก็ดูคล้ายผีเสื้อหรือนาฬิกาทราย(เรียกเนบิวลากลุ่มนี้ว่า
bipolar) โดยมีซากดาวร้อนที่ค่อยเย็นและมอดอยู่ในใจกลาง
เนบิวลาดาวเคราะห์นั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์แต่อย่างไร
ซึ่งการเรียกชื่อวัตถุมีก่อนที่เราจะทราบว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร
ดวงอาทิตย์ของเราเองเมื่อมันหมดเชื้อเพลิงที่ใช้ในการหลอมนิวเคลียสในแกนกลางลง
และพองตัวกลายเป็นดาวยักษ์แดง กลืนดาวเคราะห์วงในในอีกราว 5 พันล้านปีข้างหน้า ก็จะทิ้ง “วิญญาณ” ก๊าซคล้ายๆ
กันไว้รอบซากแกนกลางที่เป็นดาวแคระขาว
นักดาราศาสตร์ทราบเรื่องราวของเนบิวลาดาวเคราะห์ไม่น้อย
แต่การเรียงตัวของกลุ่มซากเมฆลักษณะนี้ในส่วนป่องที่ใจกลางกาแลคซีทางช้างเผือก
ยังคงเป็นปริศนามาตั้งแต่ที่พบเมื่อสิบปีก่อนโดย Bryan Rees นักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ซึ่งก็เป็นผู้เขียนในรายงานใหม่นี้
เมื่อพบว่ารูปร่างของเนบิวลาดาวเคราะห์เรียงตัวบนท้องฟ้าไปในทางเดียวกัน
ไม่เพียงเท่านั้น แกนยาวของพวกมันยังเรียงตัวเกือบจะขนานกับระนาบของทางช้างเผือกด้วย
ขณะนี้
ก็ไขปริศนานี้ได้แล้วต้องขอบคุณทีมนักดาราศาสตร์ที่ใช้ภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
เนบิวลาดาวเคราะห์กลายเป็นหน้าต่างสู่ใจกลางทางช้างเผือกให้แก่เรา
และหน้าต่างบานนี้ก็ยิ่งตอกย้ำความเข้าใจเกี่ยวกับพลวัตและวิวัฒนาการของพื้นที่ส่วนป่องของทางช้างเผือกให้ดีขึ้น
Albert Zijlstra นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
กล่าวในแถลงการณ์ จากการศึกษาเนบิวลา 136 แห่งในส่วนป่องที่ใจกลาง(central
bulge) ซึ่งเป็นส่วนที่หนาที่สุดของทางช้างเผือกด้วย
VLT รวมทั้งตรวจสอบ
40 แห่งที่ Rees
เคยวิเคราะห์ไว้ ทีมได้พบว่าเนบิวลาแต่ละแห่งนั้นไม่เกี่ยวข้องกันและมาจากดาวคนละชนิดกัน
ซึ่งตายลงในช่วงเวลาที่ต่างกันและใช้ชีวิตของพวกมันในพื้นที่ที่ต่างกัน
แต่สิ่งที่ไม่เคยทราบจนถึงบัดนี้ก็คือความจริงที่ว่า
การเรียงตัวนี้เกิดขึ้นเฉพาะในเนบิวลาดาวเคราะห์ที่มีดาวข้างเคียงในระยะประชิดเท่านั้น
ในกรณีเหล่านี้ ดาวข้างเคียงโคจรรอบดาวแคระขาวในใจกลางเนบิวลาดาวเคราะห์ในระยะทางสั้นกว่าวงโคจรของดาวพุธรอบดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเรา
ในเนบิวลาที่ไม่มีดาวข้างเคียง
จะไม่เกิดการเรียงตัวลักษณะนี้ และนี่บ่งบอกว่าการเรียงตัวอาจจะเกิดขึ้นอันเป็นผลจากการเคลื่อนที่โคจรของดาวข้างเคียงอย่างรวดเร็ว
ซึ่งอาจจะโคจรในระยใกล้ชิดหรือกระทั่งฝังอยู่ภายในซากของดาวหลัก
การเรียงตัวของเนบิวลาดาวเคราะห์ที่สำรวจพบยังอาจจะเผยว่าระบบดาวคู่ที่ใกล้ชิด
ก่อตัวขึ้นโดยมีวงโคจรที่เรียงตัวในระนาบเดียวกัน
การก่อตัวของดาวในส่วนป่องของทางช้างเผือก
เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่างเช่น แรงโน้มถ่วง,
ความปั่นป่วน และสนามแม่เหล็ก กระทั่งบัดนี้
เราก็ยังขาดแคลนหลักฐานว่ากลไกเหล่านี้อันใดที่อาจเป็นสาเหตุให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นและสร้างการเรียงตัวนี้ได้
Zijlstra สรุป
ความสำคัญของงานวิจัยนี้อยู่ที่ความจริงที่ว่าขณะนี้เราทราบว่าการเรียงตัวพบได้ในเนบิวลาดาวเคราะห์กลุ่มย่อยที่พิเศษมากๆ
คำอธิบายที่สมเหตุสมผลเพียงหนึ่งเดียวก็คือสนามแม่เหล็ก
ในขณะที่ขณะนี้สนามแม่เหล็กในส่วนป่องไม่ได้แรงมากพอที่จะกำกับการเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบนี้ได้
แต่ในอดีต
สนามอาจจะแรงพอที่จะล๊อคระบบดาวคู่ให้มีการเรียงตัวก่อนที่จะสร้างเนบิวลาดาวเคราะห์ขึ้นมา
งานวิจัยของทีมเผยแพร่ใน Astrophysical Journal Letters
แหล่งข่าว space.com
: “ghost stars” haunts the center of the Milky Way
galaxy. Now we know why
sciencealert.com : the
ghosts of dead stars form a mysterious alignment, but why?
iflscience.com : close
companions make ghost stars align with the galactic plane