ภาพวาดแสดงดาวเคราะห์หินร้อน TRAPPIST-1b น่าจะมีสภาพอย่างไร
ระบบดาว TRAPPIST-1 อยู่ห่างออกไป 40 ปีแสง มีดาวเคราะห์นอกระบบที่คล้ายโลกอย่างน้อย 7
ดวง
แต่การตรวจสอบครั้งใหม่โดยเครื่องมืออินฟราเรดกลาง(MIRI) บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ได้แสดงว่ามีดาวเคราะห์หินอย่างน้อยหนึ่งดวงในกลุ่มนั้นที่น่าจะร้อนเกินกว่าจะมีชั้นบรรยากาศได้
นี่ไม่ได้กำจัดความหวังใดๆ
ที่พิภพนี้อาจจะมีชีวิตอยู่ อย่างไรก็๖ม
แม้ว่าข่าวที่ว่าดาวเคราะห์นี้ดูจะไม่เอื้ออาศัย แต่การสำรวจครั้งใหม่ก็ยังคงเป็นความสำคัญครั้งใหญ่
นี่เป็นเป้าหมายหนึ่งที่ผมฝันถึง Pierre-Olivier Lagage ผู้เขียนร่วมการศึกษาจาก CEA(French
Alternative Energies and Atomic Energy Commission) ซึ่งใช้เวลามากกว่าสองทศวรรษพัฒนา MIRI กล่าวในแถลงการณ์อีซา นี่เป็นครั้งแรกที่เราตรวจจับการเปล่งคลื่นจากดาวเคราะห์หินได้
นี่เป็นก้าวที่สำคัญอย่างมากในเรื่องราวการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ
งานวิจัยใหม่เผยแพร่ในวารสาร Nature วันที่
27 มีนาคม
ดาวเคราะห์นอกระบบในคำถาม TRAPPIST-1b
เป็นดาวเคราะห์วงในสุดในระบบดาว TRAPPIST-1
ซึ่งนักดาราศาสตร์ได้พบว่ามีดาวเคราะห์มากกว่าครึ่งโหลในช่วงต้นปี
2017 ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวล
1.4 เท่าโลก
แต่ก็ไม่เหมือนกับโลก มันโคจรรอบดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์อย่างมาก
ดาวฤกษ์ TRAPPIST-1 ถูกพบครั้งแรกในปี 1999 เป็นดาวแคระแดงที่เย็นมาก(M dwarf) เป็ดาวฤกษ์ชนิดที่พบได้มากที่สุดในทางช้างเผือกและอาจจะรวมทั้งในเอกภพด้วย
เนื่องจากขนาดที่เล็ก
ดาวลักษณะดังกล่าวจึงเปล่งพลังงานออกมาน้อยกว่าดาวฤกษ์อย่างดวงอาทิตย์
แต่ก็ยังทราบกันดีว่าดาวฤกษ์แคระแดงมีลมดวงดาวที่รุนแรงและการลุกจ้าที่เกรี้ยวกราด
ซึ่งได้สร้างคำถามเกี่ยวกับความน่าจะเป็นที่ดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์เหล่านี้จะอารีต่อสิ่งมีชีวิต
มีแคระแดงในทางช้างเผือกมากเป็นสิบเท่าของดาวฤกษ์อย่างดวงอาทิตย์
และก็มีโอกาสมากกว่าดาวอย่างดวงอาทิตย์ 2 ที่จะมีดาวเคราะห์หิน
Thomas Greene นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่ศูนย์วิจัยเอมส์ของนาซา
และผู้เขียนนำการศึกษา แต่พวกมันก็ยังมีกิจกรรมสูงมากด้วย
ซึ่งจะสว่างมากเมื่อยังอายุน้อย
และสร้างการลุกจ้าและรังสีเอกซ์ที่สามารถกวาดชั้นบรรยากาศใดๆ ทิ้งไปได้
การสำรวจ TRAPPIST-1b ก่อนหน้านี้โดยทั้งกล้องฮับเบิลและกล้องสปิตเซอร์
ไม่พบหลักฐานชั้นบรรยากาศที่ปุกปุยรอบพิภพดวงนี้ แต่ก็ไม่ได้กำจัดความเป็นไปได้ที่จะมีชั้นบรรยากาศที่ทึบแน่น
วิธีหนึ่งที่จะลดความคลาดเคลื่อนก็คือการตรวจสอบอุณหภูมิของดาวเคราะห์ Lagage
กล่าวว่า
ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ในล๊อคบีบฉีก(tidal lock) โดยด้านหนึ่งจะหันเข้าหาดาวฤกษ์แม่อยู่ตลอดเวลา
และอีกด้านก็อยู่ในความมืดมิดถาวร
ถ้ามันมีชั้นบรรยากาศที่ไหลเวียนและกระจายความร้อนออกไป
ด้านกลางวันก็จะเย็นกว่ากรณีที่ไม่มีชั้นบรรยากาศ
นักวิจัยเข้าถึงข้อมูลนี้โดยการเฝ้าดู TRAPPIST-1b
โคจรไปซ่อนอยู่ด้านหลังดาวฤกษ์แม่
ในเทคนิคที่เรียกว่า การตรวจสอบปริมาณแสงจากคราสทุติยภูมิ(secondary
eclipse photometry) ด้วยการลบความสว่างของดาวฤกษ์แคระแดงเพียงลำพังออกจากความสว่างโดยรวมจากดาวฤกษ์+ดาวเคราะห์
นักวิจัยก็สามารถตรวจสอบว่ามีแสงอินฟราเรด(หรือความร้อน)
ที่ดาวเคราะห์เปล่งออกมามากน้อยแค่ไหน
ดาวฤกษ์ในระบบนี้มีความสว่างมากกว่าดาวเคราะห์ราว 1000 เท่า เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสว่างไม่ถึง
0.1%
ยังมีความกังวลว่าจะพลาดการเกิดคราสนี้
เมื่อดาวเคราะห์ทั้งหมดในระบบจะดึงกันไปมา ดังนั้นวงโคจรจึงไม่ได้ตรงเวลาเป๊ะ Taylor
Bell นักวิจัยหลังปริญญาเอกที่สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเบย์แอเรีย
ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูล กล่าว
แต่มันก็น่าทึ่งเมื่อเวลาที่เกิดคราสที่เราเห็นในข้อมูลนั้น
สอดคล้องกับเวลาที่ทำนายไว้ คลาดเคลื่อนเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น
จากการสำรวจคราสทุติยภูมิ 5 ครั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ปีที่แล้ว นักวิจัยคำนวณว่า
TRAPPIST-1b มีอุณหภูมิด้านกลางวันที่ราว
232 องศาเซลเซียส Elsa
Ducrot ผู้เขียนร่วมจาก
CEA กล่าวว่า
เราเปรียบเทียบผลสรุปนี้กับแบบจำลองคอมพิวเตอร์อุณหภูมิที่น่าจะเป็นในกรณีต่างๆ
ผลแทบจะสอดคล้องอย่างดีเยี่ยมกับวัตถุดำมืดเป็นหินโล้นที่ไม่มีชั้นบรรยากาศเพื่อถ่ายเทความร้อน
จุดที่ร้อนที่สุดบนดาวเคราะห์เป็นจุดที่หันเข้าหาดาวฤกษ์แม่โดยตรง
ซึ่งถ้ามีชั้นบรรยากาศ จะสร้างลมที่ตำแหน่งดังกล่าว
ซึ่งน่าจะขยับจุดที่ร้อนที่สุดบนดาวเคราะห์ให้ขยับออกไป
เรายังไม่เห็นสัญญาณของแสงใดๆ
ที่ถูกดูดกลืนโดยคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจจากที่ TRAPPIST-1b
อยู่วงในที่สุด
โคจรรอบดาวฤกษ์ครบรอบในเวลาเพียง 1.5 วันเท่านั้น
และได้รับพลังงานมากกว่าที่โลกได้รับ 4 เท่า
เพื่อยืนยันว่า TRAPPIST-1b นั้นไม่มีชั้นบรรยากาศจริงๆ ขณะนี้
นักวิจัยได้ทำการสำรวจคราสทุติยภูมิเพิ่มเติมโดยใช้ MIRI ของกล้องเวบบ์
โดยมีเป้าหมายให้ได้กราฟแสงวงโคจรโดยสมบูรณ์ซึ่งแสดงว่าความสว่างของ TRAPPIST-1b
เปลี่ยนแปลงอย่างไรตลอดทั้งวงโคจร
นักวิจัยมั่นใจว่าจะได้ฟันธงในไม่ช้าว่าพิภพนี้มีชั้นบรรยากาศหรือไม่
Ducrot กล่าวเสริมว่า
เป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะจำแนกดาวเคราะห์หินรอบดาวฤกษ์ที่เล็กกว่าและเย็นกว่าด้วย
เราต้องการจะเข้าใจความสามารถในการเอื้ออาศัยได้รอบดาวแคระแดง และระบบ TRAPPIST-1
ก้เป็นห้องทดลองชั้นเลิศ
เป็นเป้าหมายที่ดีที่สุดที่จะมองหาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์หิน
ระบบดาวเคราะห์รอบ TRAPPIST-1 ถูกพบเมื่อต้นปี 2017 เมื่อนักดาราศาสตร์ได้รายงานการพบดาวเคราะห์หิน 7
ดวงโดยสิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับดาวเคราะห์ในระบบนี้ก็คือ
พวกมันมีขนาดและมวลที่ใกล้เคียงกับดาวเคราะห์หินวงในในระบบสุริยะของเรา
แม้ว่าพวกมันทั้งหมดจะโคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์แม่มากกว่ากระทั่งดาวพุธรอบดวงอาทิตย์
แต่พวกมันก็ได้รับพลังงานจากดาวฤกษ์แม่ดวงน้อยพอๆ กับที่โลกได้รับ และยังมีสามในเจ็ดดวง(TRAPPIST-1e,
f และ g) ที่น่าจะอยู่เขตเอื้ออาศัยได้รอบดาวฤกษ์แคระแดงนี้
แหล่งข่าว astronomy.com
: rocky exoplanet around TRAPPIST-1
is too hot for an atmosphere
esawebb.org : Webb
measures the temperature of a rocky exoplanet
sciencealert.com : JWST
gives us our best look yet at Earth-sized exoplanet TRAPPIST-1b
skyandtelescope.com :
exoplanet TRAPPIST-1b has no atmosphere
No comments:
Post a Comment