ทีมนักวิจัยนานาชาติที่นำโดย Charles
Cadieux นักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยมอนทรีออล
และสมาชิกสถาบันเพื่อการวิจัยดาวเคราะห์นอกระบบ(i RE x) ได้ประกาศการค้นพบ TOI-1452b ดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่งที่โคจรรอบดาวฤกษ์ขนาดเล็กหนึ่งในสองดวงในระบบดาวคู่แห่งหนึ่งที่อยู่ไกลออกไปราว
100 ปีแสงในกลุ่มดาวมังกร(Draco)
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้มีขนาดและมวลใหญ่กว่าโลกเท่านั้น
และอยู่ในระยะจากดาวฤกษ์แม่ ในตำแหน่งที่อุณหภูมิพื้นผิวไม่น่าจะร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป
สำหรับน้ำของเหลวที่จะปรากฏบนพื้นผิวดาวเคราะห์ นักดาราศาสตร์เชื่อว่า
มันอาจจะเป็นดาวเคราะห์มหาสมุทร(ocean planet) เป็นดาวเคราะห์ที่มีชั้นน้ำที่หนาปกคลุมไว้โดยสิ้นเชิง
คล้ายกับดวงจันทร์บางส่วนของดาวพฤหัสฯ และดาวเสาร์
ในบทความที่เผยแพร่ใน Astronomical
Journal Cadieux และทีมได้อธิบายการสำรวจที่ช่วยระบุธรรมชาติและคุณลักษณะของดาวเคราะห์ที่เป็นอัตลักษณ์ดวงนี้
Rene Doyon ศาสตราจารย์ที่มอนทรีออล
และผู้อำนวยการ i RE x และจากหอสังเกตการณ์มองเมกองติก(OMM)
กล่าวว่า ผมมีความภาคภูมิใจมากกับการค้นพบนี้เนื่องจากมันได้แสดงให้เห็นว่านักวิจัยและเครื่องมือของเรามีสมรรถนะที่สูง
ต้องขอบคุณ OMM, SPIRou เครื่องมือพิเศษที่ออกแบบมาในห้องทดลองของเรา
และวิธีการวิเคราะห์อันล้ำหน้าที่พัฒนาโดยทีมวิจัย
เราจึงสามารถตรวจจับดาวเคราะห์ชนิดพิเศษนี้ได้
มันถูกพบเป็นครั้งแรกโดย TESS ซึ่งสำรวจทั่วท้องฟ้าเพื่อค้นหาระบบดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะของเรา
ทำให้นักวิจัยสามารถตามรอยดาวเคราะห์ดวงนี้ต่อได้ จากสัญญาณของ TESS ซึ่งแสดงการหรี่แสงลงทุกๆ 11 วัน
นักดาราศาสตร์ทำนายว่าเป็นเพราะดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่มีขนาดประมาณ 1.7 เท่าโลก Cadieux เป็นหนึ่งในกลุ่มนักดาราศาสตร์ที่ทำการสำรวจติดตามผลว่าที่ดาวเคราะห์ที่
TESS ได้จำแนกไว้
เพื่อยืนยันชนิดและคุณลักษณะของดาวเคราะห์เหล่านี้ เขาใช้ PESTO กล้องที่ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์ OMM ซึ่งพัฒนาโดยศาสตราจารย์ David Lafreniere
และนักศึกษาปริญญาเอกของเขา Francois-Rene
Lachapelle จากมอนทรีออล
OMM แสดงบทบาทที่สำคัญมากในการยืนยันธรรมชาติของสัญญาณนี้
และประเมินรัศมีของดาวเคราะห์ Cadieux อธิบาย
นี่ไม่ใช่การตรวจสอบประจำวัน เราต้องแน่ใจว่าสัญญาณที่ TESS ได้พบนั้นเกิดขึ้นจากดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่โคจรรอบ
TOI-1452 จริง
ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ดวงใหญ่ในสองดวงในระบบดาวคู่แห่งนี้
ดาวฤกษ์แม่ TOI-1452 มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ของเราอย่างมาก
และดาวข้างเคียงในระบบคู่อีกดวงก็มีมวลใกล้เคียงกัน(เป็นดาวฤกษ์แคระแดงคู่)
ดาวทั้งสองโคจรรอบกันและกัน และอยู่ห่างจากกันไม่ไกลเพียง 97 หน่วยดาราศาสตร์(AU) หรือประมาณสองเท่าครึ่งของระยะทางจากโลกถึงพลูโต
จนกล้องของ TESS มองเห็นพวกมันเป็นจุดแสงแห่งเดียว
แต่ความละเอียดที่สูงของ PESTO ช่วยแยกแยะวัตถุทั้งสองได้
และภาพก็แสดงว่าดาวเคราะห์โคจรรอบ TOI-1452 จริง ซึ่งก็ยืนยันในเวลาต่อมาจากการสำรวจโดยทีมญี่ปุ่น
เพื่อตรวจสอบมวลของดาวเคราะห์
นักวิจัยสำรวจระบบด้วย SPIRou ที่ติดตั้งที่กล้องโทรทรรศน์คานาดา-ฝรังเศส-ฮาวาย ในฮาวาย
ซึ่งเหมาะสมกับการศึกษาดาวมวลต่ำอย่าง TOI-1452 เนื่องจากมันสำรวจในช่วงอินฟราเรดเป็นช่วงที่ดาวมวลต่ำเหล่านี้สว่างมากที่สุด
แม้กระนั้น ยังต้องใช้เวลาการสำรวจมากกว่า 50 ชั่วโมงเพื่อประเมินมวลของดาวเคราะห์
ซึ่งเชื่อว่ามีมวลเกือบ 5 เท่ามวลโลก
สมาชิกในทีมนักศึกษาปริญญาเอกอีก 2 คนที่มอนทรีออลคือ Farbod Jahandar วิเคราะห์องค์ประกอบของดาวฤกษ์แม่ซึ่งมีประโยชน์ในการระบุโครงสร้างภายในของดาวเคราะห์ และ Thomas
Vandal วิเคราะห์ข้อมูลจาก
SPIRou ดาวเคราะห์ใหมม่น่าจะเป็นหินคล้ายกับโลก
แต่รัศมี, มวล และความหนาแน่นของมัน บอกถึงพิภพที่แตกต่างจากโลกของเราอย่างมาก
โลกนั้นจัดเป็นดาวเคราะห์ที่แห้งแล้งมากๆ
แม้ว่าเราจะเรียกมันว่าดาวเคราะห์สีฟ้า
เนื่องจากพื้นผิวราวสามในสี่ถูกปกคลุมด้วยมหาสมุทร แต่จริงๆ
แล้วมีน้ำอยู่เพียงเล็กน้อยมากๆ คือไม่ถึง 1% ของมวลโลก บนดาวเคราะห์นอกระบบบางส่วนอาจจะมีน้ำอยู่มากกว่าโลกอย่างมาก
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
นักดาราศาสตร์ได้จำแนกและตรวจสอบรัศมีและมวลของดาวเคราะห์นอกระบบหลายดวงที่มีขนาดระหว่างโลกกับเนปจูน(เนปจูนใหญ่กว่าโลก
3.8 เท่า)
ดาวเคราะห์เหล่านี้บางส่วนมีความหนาแน่นที่จะสามารถอธิบายได้ก็ต่อเมื่อมวลส่วนใหญ่ของมันอยู่ในรูปวัสดุสารที่เบากว่า
องค์ประกอบในโครงสร้างภายในของโลก(เช่น น้ำ) พิภพในสมมุติฐานเหล่านี้ถูกเรียกว่า
ดาวเคราะห์มหาสมุทร
TOI-1452b เป็นหนึ่งในว่าที่ดาวเคราะห์มหาสมุทรที่ดีที่สุดเท่าที่เราเคยพบมา
Cadieux กล่าว
รัศมีและมวลของมันบอกถึงความหนาแน่นที่ต่ำกว่าที่คาดไว้สำหรับดาวเคราะห์ที่ประกอบด้วยโลหะและหินคล้ายโลก
อย่างมาก
ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญแบบจำลองภายในดาวเคราะห์นอกระบบจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต Mykhaylo
Plotnykov และ Diana
Valencia วิเคราะห์ TOI-1452b
พบว่าอาจมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 30%
ของมวลดาวเคราะห์
เป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับดวงจันทร์บริวารตามธรรมชาติบางส่วนในระบบสุริยะของเรา
เช่น ดวงจันทร์กานิมีด(Ganymede) และ
คัลลิสโต(Callisto) ของดาวพฤหัสฯ
และดวงจันทร์ไททัน(Titan)
และเอนเซลาดัส(Enceladus) ของดาวเสาร์
ดาวเคราะห์นอกระบบอย่าง TOI-1452b จะเป็นว่าที่ดาวเคราะห์ที่น่าจะใช้เพื่อการสำรวจต่อๆ
ไปโดยกล้องเวบบ์ได้ดีเยี่ยม
มันเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์อุณหภูมิพอเหมาะเพียงไม่กี่ดวงที่พบว่าแสดงคุณลักษณะสอดคล้องกับการเป็นดาวเคราะห์มหาสมุทร
มันยังอยู่ในโลกมากพอจนนักวิจัยหวังว่าจะได้ศึกษาชั้นบรรยากาศและทดสอบสมมุติฐาน
และมีโชคซ้อนไปอีกเมื่อมันอยู่ในพื้นที่ท้องฟ้าที่สามารถสำรวจได้ตลอดทั้งปี
การสำรวจด้วยกล้องเวบบ์จะมีความจำเป็นเพื่อให้เข้าใจ TOI-1452b ได้ดีขึ้น Doyon ซึ่งเป็นผู้นำทีมอุปกรณ์ NIRISS(Near-Infrared
Imager and Slitless Spectrograph) ของกล้องเวบบ์
กล่าว เราจะขอเวลาเพื่อสำรวจพิภพประหลาดและน่ามหัศจรรย์แห่งนี้ให้เร็วที่สุด
แหล่งข่าว sciencedaily.com
: an extrasolar world covered in water?
space.com : possible
water world spotted orbiting an alien star
No comments:
Post a Comment