หอลังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทราและหอสังเกตการณ์สวิฟท์ของนาซาได้จับภาพซึ่งมีรายละเอียดเป็นวงแหวนตระการตาชุดหนึ่งรอบหลุมดำแห่งหนึ่ง
ภาพรังสีเอกซ์แสดงวงแหวนยักษ์ได้เผยให้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับฝุ่นที่อยู่ในกาแลคซีของเรา
ด้วยการใช้ทฤษฎีคล้ายกับที่ใช้รังสีเอกซ์ในทางการแพทย์และในสนามบิน
หลุมดำแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบคู่ที่เรียกว่า V404 Cygni ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 7800 ปีแสง
หลุมดำกำลังดึงวัสดุสารจากดาวข้างเคียงซึ่งมีมวลประมาณครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์อย่างละโมบ
เข้าสู่ดิสก์รอบวัตถุที่มองไม่เห็นแห่งนี้ วัสดุสารนี้เรืองสว่างในช่วงรังสีเอกซ์
ดังนั้น นักดาราศาสตร์จึงจัดให้ระบบเหล่านี้เป็น ระบบคู่รังสีเอกซ์(x-ray
binaries)
ในวันที่ 5 มิถุนายน 2015 สวิฟท์ได้พบการปะทุรังสีเอกซ์เหตุการณ์หนึ่งจาก V404
Cygni การปะทุได้สร้างวงแหวนพลังงานสูงจากปรากฏการณ์ประหลาดที่เรียกว่า
รังสีเอกซ์สะท้อนกลับ(light echoes) แทนที่จะเป็นคลื่นเสียงที่สะท้อนออกจากกำแพงหุบผาลึก
แสงที่สะท้อนกลับรอบๆ V404 Cygni เกิดขึ้นเมื่อการปะทุรังสีเอกซ์จากระบบหลุมดำ
สะท้อนออกจากเมฆฝุ่นที่อยู่ระหว่าง V404 Cygni กับโลก ฝุ่นอวกาศไม่เหมือนกับฝุ่นในบ้านเรือน
แต่กลับคล้ายกับควันมากกว่า และประกอบด้วยอนุภาคของแข็งขนาดจิ๋ว
ปรากฏการณ์ประหลาดนี้เคยพบเห็นมาก่อนแต่ก็พบได้ยาก
มีรังสีเอกซ์สะท้อนกลับสว่างเช่นนี้อีกเพียง 3 แห่งที่พบจากดาวที่เกิดการลุกจ้าในกาแลคซีของเรา
ดังนั้นแล้ว นักดาราศาสตร์จึงใช้โอกาสเพื่อใช้แสงสะท้อนกลับจาก V404 Cygni เพื่อตรวจสอบ
ไม่เพียงแต่พฤติกรรมการปะทุของหลุมดำ แต่ยังรวมถึงฝุ่นในอวกาศรอบๆ
ในภาพรวมประกอบนี้
รังสีเอกซ์จากจันทรา(สีฟ้า) รวมกับข้อมูลช่วงตาเห็ฯได้จากกล้องโทรทรรศน์ Pan-STARRS
ในฮาวาย
ซึ่งได้แสดงดาวในพื้นที่การสำรวจ ภาพประกอบด้วยวงแหวนซ้อนที่มีจุดศูนย์กลางร่วม 8
วง
วงแหวนแต่ละวงเกิดขึ้นจากการลุกจ้ารังสีเอกซ์จาก V404 Cygni ที่สำรวจพบในปี 2015 ที่สะท้อนกลับออกจากเมฆฝุ่นที่แตกต่างกัน(ภาพจากศิลปินอธิบายว่าวงแหวนที่จันทราและสวิฟท์ได้เห็นเกิดขึ้นได้อย่างไร
เพื่อให้เข้าใจง่ายจึงแสดงวงแหวนเพียง 4 จาก 8
วง
ทีมนักวิจัยที่นำโดย Sebastian Heinz
จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน ได้วิเคราะห์การสำรวจจากสวิฟท์
50 ครั้งที่ทำในปี
2015 ตั้งแต่วันที่ 30
มิถุนายนจนถึง 25 สิงหาคม กล้องจันทราได้สำรวจระบบแห่งนี้ในวันที่ 11
และ 25 กรกฎาคม
มันเป็นเหตุการณ์ที่สว่างซึ่งผู้ควบคุมกล้องจันทราจึงต้องวาง V404 Cygni ไว้ระหว่างเครื่องตรวจจับเพื่อที่จะทำอันตรายเครื่องมือ
วงแหวนได้บอกนักดาราศาสตร์ไม่เพียงแค่พฤติกรรมของหลุมดำ
แต่ยังบอกเกี่ยวกับภูมิประเทศระหว่าง V404 Cygni กับโลกด้วย ยกตัวอย่างเช่น แสงที่สะท้อนกลับออกมาเป็นวงแหวนแคบๆ
แทนที่จะเป็นวงแหวนกว้าง ก็เพราะการปะทุรังสีเอกซ์คงอยู่เพียงชั่วเวลาสั้นๆ
เท่านั้น นอกจากนี้เส้นผ่าศูนย์กลางของวงแหวนในช่วงรังสีเอกซ์
ได้เผยให้เห็นระยะทางสู่เมฆฝุ่นที่คั่นอยู่ตรงกลางที่แสงสะท้อนกลับออกมา
ถ้าเมฆอยู่ใกล้โลก วงแหวนก็จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ วงแหวนที่อยู่ไกลออกไปก็จะเล็กลง
เหมือนกับการมองลงไปในท่อเล็กๆ
มุมมองที่เกิดขึ้นทำให้ปลายด้านที่ใกล้ดูใหญ่กว่าปลายด้านไกล
ดังนั้น วงแหวนทั้งแปด จึงเป็นเมฆฝุ่นเอกเทศ
8 ก้อน
ที่แสง(จากหลุมดำ) วิ่งเข้าหาเมื่อมันเดินทางในอวกาศ จากสิ่งนี้
เราทราบว่าวงแหวนที่ใหญ่ที่สุดซึ่งก็ใกล้ที่สุด
เกิดขึ้นจากเมฆฝุ่นที่อยู่ห่างออกไปราว 3363 ปีแสง และวงแหวนที่ไกลที่สุดก็ที่ 6934 ปีแสง
สุดท้าย
แสงที่สะท้อนกลับจากฝุ่นยังสามารถใช้เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างและองค์ประกอบฝุ่นในอวกาศได้
ธาตุหนึ่งๆ จะดูดกลืนแสงในช่วงรังสีเอกซ์ที่ความยาวคลื่นที่จำเพาะ
ซึ่งหมายความว่านักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาสเปคตรัมรังสีเอกซ์ที่มาถึงเราเพื่อดูว่าฝุ่นอวกาศมีองค์ประกอบอย่างไร
พวกเขาพบว่าฝุ่นนั้นเป็นซิลิเกตกับกราไฟต์เป็นหลัก และยังพบว่าพวกมันมีความหนาแน่นไม่เป็นเนื้อเดียวกันในทุกทิศทางด้วย
การศึกษาพิเศษชิ้นหนึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 1
กรกฎาคม 2016 ในวารสาร Astrophysical Journal และยังคงสำรวจแสงที่สะท้อนกลับออกมาได้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับฝุ่นที่อยู่ระหว่างดวงดาวที่ปกติแล้วจะมองไม่เห็น
นอกจากนี้ V404 Cygni ยัง
โดยมีการปะทุราวทุกๆ สองหรือสามทศวรรษ ก่อนหน้านี้บันทึกได้ในปี 1938, 1956
และ 1989 ดังนั้น
เราจึงสามารถคาดการณ์ว่าการลุกจ้าในอนาคตจะช่วยเราให้เข้าใจว่าฝุ่นในห้วงอวกาศอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามเวลาได้อย่างไร
ยังมีอีกหลายอย่างที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากการปะทุเหล่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น การปะทุในปี 2015 ได้แสดงว่าสนามแม่เหล็กของหลุมดำในระบบ
V404 Cygni นั้นอ่อนแอกว่าที่เราคาดไว้
และหลุมดำแห่งนี้ก็ยังหมุนรอบตัวแบบส่าย ในความเป็นจริงแล้ว
มีรายงานจำนวนค่อนข้างมากที่เผยแพร่เกี่ยวกับการปะทุในปี 2015 ของ V404 Cygni นี่เป็นหลุมดำที่มีแต่ให้ และน่าจะเป็นเช่นนั้นต่อไป
แหล่งข่าว spaceref.com
: huge rings around a black hole
sciencealert.com : huge
x-ray rings around a black hole reveal the hidden dust between stars
phys.org – V404
Cygni: huge rings around a black hole
No comments:
Post a Comment