Friday, 21 February 2020

Messier 1 : Crab Nebula



แมสซายเออร์ 1 หรือ NGC1952 เป็นซากจากการระเบิดของดาวฤกษ์ใกล้ดาวซีต้า ทอรี่หรือปลายเขาวัวฝั่งทางทิศใต้ พบเป็นครั้งแรกโดย จอนห์ เบวิส นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวอังกฤษในปี 1731 เบวิสเพิ่มออบเจคชิ้นนี้ลงไปในแผนที่ท้องฟ้าของเขาที่ชื่อ Uranographia Britanica

อีก 27 ปีต่อมาชาร์ล แมสซายเออร์ได้ค้นพบด้วยตัวเองอีกครั้งในคืนวันที่ 28 สิงหาคม 1758 แมสซายเออร์พบว่าเนบิวล่าตัวนี้มีลักษณะที่เหมือนดาวหาง แต่ไม่เคลื่อนที่ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการรวมรวมวัตถุที่ดูคล้ายดาวหางทั้ง 110 ชิ้นที่ปัจจุบันเรารู้จักกันดีในชื่อ “แมสซายเออร์ แคตตาลอค”


Crab Nebula โดย Lord Rosse
Cr: Wiki Common [click]
เอ็ม 1 ได้รับชื่อว่าเนบิวล่าปูก็เพราะลอร์ดโรส (William Persons, 3rd Earl of Rosse) ได้สังเกตด้วยกล้องสะท้อนแสงขนาด 36นิ้วในปี 1844 และเห็นว่าเอ็ม 1 มีโครงสร้างเป็นเส้นใยยื่นออกมาจากเนบิวล่า คล้ายกับระยางค์ที่ยื่นออกมาจากตัวปู ในยุคนั้นเชื่อว่า M1 เป็นกระจุกดาว กว่าจะพบความจริงว่าเป็นกลุ่มก๊าซก็ล่วงมาจนศตวรรษที่ 19 เมื่อการถ่ายภาพได้รับการพัฒนาขึ้นมา

เอ็ม 1 มองเห็นได้ง่ายแม้แต่จากกล้องสองตา 10x50 เมือดูจากกล้องดูดาวขนาดเล็กจะเป็นปื้นแสงวงรีหรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ซึ่งเป็นส่วนสว่างใจกลางเนบิวล่า เป็นออบเจคที่ไวต่อหมอกควันและมลภาวะทางแสงมาก ทำให้จำเป็นต้องอาศัยคุณภาพท้องฟ้าที่ดีหากต้องรายละเอียดที่มากขึ้นด้วยกำลังขยายสูง

ผมดูผ่านกล้องสะท้อนแสงขนาด 8 นิ้วที่ชานเมืองบ้านหมี่ ท้องฟ้ามีหมอกควันคลุมอยู่ทั่วไป กลางฟ้าเห็นดาวสว่างน้อยที่สุดราวแมกนิจูด 3+ ที่กำลังขยายต่ำไม่มีปัญหาอะไร เอ็ม 1 มองคล้ายเมฆก้อนเล็กรูปวงรีออกไปทางข้าวหลามตัด

เมื่อเพิ่มกำลังขยายเป็น 133 เท่า ภาพจางมาก พอจับได้ว่ามีแสงวงรีสองวงวางเยื้องกัน มีแขนยื่นออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แสงวงรีทางทิศเหนือจะสว่างกว่าวงรีทางทิศใต้ ผมดูอยู่หลายคืนเพราะท้องฟ้าไม่ค่อยเอื้ออำนวยจากปัญหาเรื่องหมอกควัน ทำให้ดูยาก เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง

แต่เชื่อว่าหากฟ้าดึพอ น่าจะมองเห็นเส้นใยและรายละเอียดอื่นมากขึ้นได้จากกล้องสะท้อนแสง 8 นิ้วครับ



Name: Crab Nebula
Catalog Number : Messier 1, NGC1952
Type: Supernova Remnent
Magnitude: 8.40
Surface brightness: 11.00
Dimension: 8.0 x 4.0 '
Constellation: Taurus

Coordinate:
RA: 05h34m 30.0s
DEC:+22°01’00"


อ้างอิง
Robert Burnham, Burnham’s Celestial Handbook
SkySafari
http://www.astronomy.com/news/2007/06/crab-nebula-exploded-in-1054
https://en.wikipedia.org/wiki/SN_1054
http://www.messier.seds.org/m/m001.html
http://www.lesa.biz/astronomy/star/neutron
https://jusci.net/node/2957
https://mgronline.com/science/detail/9600000061563

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...