Wednesday 12 February 2020

Iota Orionis


อิโอต้าโอไรออนนิสเป็นระบบดาวสามดวง
อิโอต้าโอไรออนนิสเอ เป็นดวงหลักสว่างใจกลางภาพ
อิโอต้าโอไรออนนิสบี เป็นติ่งเล็กทางด้านบน
อิโอต้าโอไรออนนิสซี จากห่างออกไปแถวหนึ่งนาฬิกา
ภาพสเก็ทช์โดยผู้เขียน

ใครที่เคยดูเอ็ม 42 แบบมุมกว้างผ่านกล้องดูดาว โดยเฉพาะในคืนที่ฟ้าดีมาก มักจะจมลงไปในความงามของเนบิวล่าจนอาจไม่ทันสังเกตดาวทางทิศใต้ที่อยู่ใกล้ปลายของเนบิวล่าส่วนที่เรียกว่า “ดาบ” ดาวสีฟ้าสดใสที่มีค่าความสว่างแมกนิจูด 3 ดวงนี้คือ “อิโอต้า (ι )โอไอรอนนิส” อัญมณีที่ถูกลืม

อิโอต้า โอไรออนนิส หรือในชื่อภาษาอาราบิค “Na’ir Al Saif” คำนี้แปลว่า “(ดาว)สว่างที่สุดในดาบ” คำแปลตรงกับความจริงเพราะดาวดวงนี้อยู่ตรงปลายดาบ มองเห็นด้วยตาเปล่าและสว่างที่สุดในดาบของนายพราน

คนที่ตาไวจะเห็นว่าดาวดวงนี้มีเนบิวล่าเห็นเป็นแสงฟุ้งโดยรอบ อิโอต้าโอไรออนเป็นระบบดาวหลายดวงที่งามตัวหนึ่ง มีดาวดวงน้อย อิโอต้า โอไรออน บี ใกล้ชิดติดกับดวงหลักเป็นภาพที่น่ารักระยะแยก 11 อาร์คเซคั่น (ฟิลิปดา) ในขณะที่อิโอต้า โอไรออน ซีเป็นดาวจางสีแดง อยู่ค่อนข้างไกลไปทางทิศตะวันออก 50 อาร์คเซคั่น

ใกล้ๆกัน เราจะมองเห็นดาวคู่ที่ดูง่ายอีกสองคู่คือ สตูว์ป 747 และสตูว์ป 745 อิโอต้าโอไรออนเองก็เป็นส่วนหนึ่งของกระจุกดาวเกิดใหม่ NGC 1980 ที่มีอายุมากกว่าทราเปซเซี่ยมไม่มาก องค์ประกอบทั้งหมดทำให้ภาพในบริเวณนี้ดูงดงามไม่น้อย

อีกเรื่องที่น่าสนใจของอิโอต้าโอไรออนนิสเอที่เป็นดาวดวงหลักของระบบคือดาวดวงนี้เองก็เป็นดาวคู่ และไม่ได้เป็นดาวคู่ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกันเหมือนคู่อื่นแต่เกิดจากการจับยึดเข้ามาด้วยแรงโน้มถ่วง และอยู่ใกล้ชิดกันจนแยกออกไม่ได้ด้วยสายตา

นักดาราศาสตร์สัณนิฐานว่าเมื่อสองล้านห้าแสนปีก่อนมีดาวคู่สองระบบชนกัน ทำให้มีดาวสองดวงกระเด็นออกไปจากระบบ และเกิดการจับคู่ใหม่เป็นอิโอต้าโอไรออนนิสดวงนี้ ส่วนสองดวงที่กลายเป็น Runaway Stars ก็คือเออีออริเกในกลุ่มดาวออริก้าและมิวโคลอมเบในกลุ่มดาวโคลอมบ้าที่ได้เขียนไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว [กลับไปอ่านคลิก]


คลิกภาพเพื่อขยาย


Catalog number: Iota Orionis
Type: Multiple Stars
Constellation: Orion
Visual Magnitude: +2.77, +7.7, +9.8
Seperation : AB 11”@141° , AC 49.4”@103°
Distance: 2300 ly

Coordinates :
R.A. 05h 36m 24.14s
Dec. +-5° 53’ 54.8”



อ้างอิง
Robert Burnham, Burnham’s Celestial Handbook
SkySafarihttp://stars.astro.illinois.edu/sow/nairalsaif.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Iota_Orionis

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...