the moon new timeline?
ประวัติทางธรณีวิทยาของโลกนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญสู่ความเข้าใจว่าโลกเปลี่ยนแปลงอย่างไร
และนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ก็อยากจะทำอย่างนั้นกับดาวเคราะห์และดวงจันทร์อื่นๆ
ที่เราได้ศึกษา อย่างไรก็ตาม
ประวัติของดวงจันทร์ของโลกที่มีอยู่เดิมถูกทำขึ้นเมื่อเราทราบความเป็นมาของมันน้อยกว่านี้อย่างมาก
และกำลังตกยุคมากขึ้นเรื่อยๆ มีความพยายามครั้งใหม่เพื่อเสนอประวัติความเป็นมาดวงจันทร์ที่ดูเข้าเค้ามากขึ้น
ไทม์ไลน์ของโลกสะท้อนถึงความจริงที่ว่ามีเหตุการณ์หายนะภัยหลากหลายแบบเกิดขึ้นซึ่งพบได้ในบันทึกทางธรณีวิทยา
และก็สามารถใช้เพื่อกำหนดเวลาทางธรณีวิทยาได้ ในบางกรณี การกำหนดก็ง่ายๆ เช่น
ชั้นวัสดุสาร(K-Pg) ที่แบ่งยุคครีเตเชียส(Cretaceous) ออกจากยุคพาลีโอจีน(Paleogene) ส่วนช่วงอื่นๆ อาจจะยุ่งยากมากขึ้น
อย่างที่พบเห็นในความขัดแย้งที่เกิดขึ้นว่าจะกำหนดการเริ่มต้นของแอนโธรโปซีน(Anthropocene
epoch) เมื่อไหร่
ดวงจันทร์มีความแตกต่างจากโลกพอสมควร บนโลก
การเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยามีความสำคัญพอๆ กับทางธรณีวิทยาเมื่อใช้กำหนดช่วงเวลารอยต่อ
บนดวงจันทร์ไม่มีกระบวนการทางชีววิทยา
ประวัติความเป็นมาของดวงจันทร์ที่เคยเสนอขึ้นมานั้น
เสนอก่อนที่เราจะเดินทางไปเหยียบดวงจันทร์
และปรับแต่งโดยใช้ผลสรุปจากปฏิบัติการอพอลโล
แต่ส่วนที่เราได้เรียนรู้นับแต่นั้นมาก็ตกยุคไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมองข้ามด้านไกลของดวงจันทร์ซึ่งคงสภาพโบราณไว้เกือบทั้งหมด
ทีมผู้เขียนซึ่งเกือบทั้งหมดมาจากสำนักวิทยาศาสตร์จีน
จึงได้เสนอไทม์ไลน์ใหม่ของดวงจันทร์ โดยแบ่งได้เป็น 3 บรมยุค(Eon) และ 6 ยุค ไทม์ไลน์ที่เสนอขึ้นมามีพื้นฐานจากการสำรวจพบว่าดวงจันทร์มีกำเนิดที่ร้อนจัดซึ่งส่งผลอย่างมากต่อการพัฒนาในช่วงต้น
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความร้อนก็กระจายออกไป
สิ่งที่ผู้เขียนเรียกว่า เป็นบรมยุคอีโอลูนาร์เรียน(Eolunarian
Eon) เป็นช่วงเวลาที่การเปลี่ยนแปลงบนดวงจันทร์ถูกขับเคลือนโดยแรงจากภายในเป็นหลัก
ความร้อนที่สุดขั้วซึ่งมาจากการก่อตัวของดวงจันทร์ได้สร้างมหาสมุทรหินหลอมเหลวที่ค่อยๆ
แข็งตัวกลายเป็นเปลือกปฐมภูมิ(primary crust) เมื่อมีวัตถุขนาดใหญ่ชนกับดวงจันทร์
ก็จะไม่ทิ้งรอยแผลถาวรไว้ ต้องขอบคุณสภาพที่เกือบเหลวของมัน
บรมยุคพาลิโอลูนาร์เรียน(Paleolunarian
Eon) เกิดขึ้นเมื่อกระบวนการภายในและภายนอกมีความสำคัญพอๆ
กัน ซึ่งทั้งสองกระบวนการก็จบสิ้นลง
แต่กระแสของดาวเคราะห์น้อยที่พุ่งเข้ามานั้นช้ากว่าแหล่งความร้อนภายใน
จึงเกิดการก่อตัวโครงสร้างหลักๆ เหลือรอดจากมหายุคนี้ เริ่มจากการก่อตัวของหฃุมดาสที่ก่อตัวจากวัสดุสารที่ระเบิด(ejecta)
ใกล้ขั้วใต้ดวงจันทร์
จากการก่อตัวของแอ่งขั้วใต้-ไอค์เค่น(South
Pole-Aitken; SPA basin) ไม่เพียงแต่ขณะนี้
แอ่งจะเป็นโครงสร้างการชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดบนดวงจันทร์
แต่ยังเป็นไปได้ที่จะเป็นพื้นที่สร้างฐานบนดวงจันทร์แห่งแรก
ทำให้พื้นที่ที่เป็นอัตลักษณ์แห่งนี้ยิ่งมีความสำคัญเป็นสองเท่า
บรมยุคนีโอลูนาร์เรียน(Neolunarian
Eon) เกิดเมื่อกิจกรรมภูเขาไฟส่วนใหญ่ได้หายไป
และการเปลี่ยนแปลงเกือบทั้งหมดก็มาจากภายนอก แม้ว่า ปฏิบัติการฉางเอ่อ 5 จะพิสูจน์ได้ว่ามีกิจกรรมภูเขาไฟเกิดขึ้นยาวนานจนกระทั่งเมื่อราว
2 พันล้านปีก่อน
แต่เหตุการณ์ลักษณะนี้โดยตัวมันเองเกิดได้ยาก
และน่าจะเกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อย
ดังนั้นผู้เขียนจึงเลือกที่จะไม่ใช้การปะทุกิจกรรมภูเขาไฟล่าสุดเป็นเส้นแบ่งระหว่างมหายุค
ผู้เขียนขีดเส้นแบ่งบรมยุคไว้ที่ 4.31
และ 3.16 พันล้านปีก่อน เช่นเดียวกับโลกซึ่งมี 4 มหายุคใหญ่แบ่งย่อยเป็น มหายุค(eras), ยุค(periods) และ สมัย(epochs) ผู้เขียนก็เสนอว่าบรมยุคล่าสุดสองช่วงของดวงจันทร์ก็น่าจะแบ่งย่อยได้
พวกเขาเรียกยุคปัจจุบันว่า โคเปอร์นิกัน(Copernican) มีอายุตั้งแต่เมื่อ 8 ร้อยล้านปีก่อนเมื่อหลุมอุกกาบาต โคเปอร์นิคัส(Copernicus
crater) ถูกสร้างขึ้น
ส่วนช่วงก่อนหน้านั้นในบรมยุค Neolunarian
มีชื่อว่า Eratosthenian ตามชื่อหลุมอุกกาบาตที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยพบ(3.2
ถึง 1.1 พันล้านปีก่อน) ไทม์ไลน์ใหม่ที่เสนอขึ้นไม่ได้รวมข้อเสนอที่ว่าขณะนี้ดวงจันทร์ก็ควรจะอยู่ใน
แอนโธรโปซีน ของมันเอง
บรมยุคพาลีโอลูนาเรียนมี 3 ยุคคือ อิมเบรียน(Imbrian) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ “ทะเล”(mare) ขนาดใหญ่เกือบทั้งหมดก่อตัวขึ้น,
และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยเป็นยุค เนคทาเรียน(Nectarian) และไอท์เคนเนียน(Aitkenian) ซึ่งยาวเพียง 70 และ 390 ล้านปี
ตามลำดับ
ไม่ว่านักวิทยาศาสตร์ดวงจันทร์ส่วนใหญ่จะยอมรับ, ปรับแต่ง
และเลือกสิ่งอื่นหรือไม่ ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องตามดูต่อไป
แต่ถ้าการแข่งขันไปดวงจันทร์ดุเดือดมากขึ้น
ก็น่าจะต้องการไทม์ไลน์ที่ดีเป็นอย่างยิ่ง การศึกษานี้เผยแพร่ในวารสาร Science
China Earth Sciences
แหล่งข่าว iflscience.com
: the Moon has a new timeline that reflects what we’ve learned
No comments:
Post a Comment