Wednesday 16 January 2019

NGC7331


กาแลกซี่แบบกังหันที่เป็นที่รู้จักดีตัวหนึ่ง ค้นพบโดยวิลเลี่ยม เฮอร์เชลล์เมื่อปี 1784 เป็นกาแลกซี่ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวเพกาซัส บริเวณนี้มีกาแลกซี่จางๆ อยู่เป็นจำนวนมาก NGC7331 เป็นตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

กลุ่มกาแลกซี่สเตฟาน ควินเต็ดที่เป็นที่ขึ้นชื่อว่ายากสำหรับ Visual Observer ก็อยู่ห่างไปครึ่งองศาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้แค่นั้นเอง

NGC7331 เป็นเหมือนคู่แฝดของกาแลกซี่ทางช้างเผือก มีรูปร่าง ขนาดและมวลใกล้เคียงกัน ทำให้เป็นตัวอย่างการศึกษาเพื่อเทียบเคียงทางช้างเผือกของเราเอง ข้อแตกต่างอย่างเดียวที่มีคือทางช้างเผือกมีบาร์สั้นๆบริเวณใจกลาง

ในคืนวันที่ 6 พฤศจิกายน ที่หอดูดาว TJ อำเภอบ้านหมี่ ฟ้าค่อนข้างดี มีเมฆเล็กน้อย หลังจากปรับตั้งกล้องเล็งกล้องดูดาวสะท้อนแสงตัวใหม่เรียบร้อย กลุ่มดาวเพกาซัสก็อยู่ตำแหน่งสูงที่สุดบนฟ้าพอดี 

ผมมองหาดาวที่เป็นข้อเข่าหน้าของม้าเพกาซัสอีต้า เพกาซาย” (η Peg) NGC 7331 จะห่างออกไป 4 องศาครึ่งทางทิศเหนือ

ตำแหน่งหาไม่ยากนัก อาจจะฮอปสองครั้งโดยเปิดแผนที่ดาวช่วยก็จะง่ายขึ้น NGC7331 ค่อนข้างสว่างทีเดียว ผมมองเห็นกาแลกซี่ตัวนี้ได้จากกล้องเล็งขนาด 8x50 ด้วยการมองเหลือบ ทำให้เชื่อว่าสามารถดูด้วยกล้องสองตาขนาดสัก 10x50 ได้แน่นอน


ภาพที่เห็นผ่านกล้องดูดาวและเป็นการ First Light กล้องดูดาวใหม่ไปด้วยในตัว ที่กำลังขยาย 56 เท่า เห็นได้ว่าเป็นกาแลกซี่ที่เอียงเข้าหาเรา เพราะภาพปรากฎเป็นวงรี และมีใจกลางที่สว่างฟุ้งออกมา

เป็นกาแลกซี่อีกตัวที่หลุดรอดจากแมสซายเออร์แคตตาลอคทั้งที่สว่างกว่ากาแลกซี่หลายตัวในเอ็มออบเจคเสียอีก

Catalog No.: NGC7331, Caldwell 30
Type: Spiral Galaxy
Visual Magnitude: 9.32
Dimension: 9.3’ x 3.8’
Constellation: Pegasus
Distance: 47 M ly

Coordinates:
RA: 22h 37m 55.26s

DEC:+34° 30’ 45”

No comments:

Post a Comment

EHT สำรวจสนามแม่เหล็กหลุมดำทางช้างเผือก

       ภาพใหม่จากกลุ่มความร่วมมือกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าสังเกตการณ์ ได้เผยให้เห็นสนามแม่เหล็กที่รุนแรงและเป็นระเบียบรอบๆ ขอบของหลุมดำมวลมหาศาล ...